รายการบล็อกของฉัน

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2551

หลวงปู่เขียว วัดหรงบน



วัดหรงบนสมัยท่านมีชีวิตอยู่คนไม่ค่อยจะรู้จัก เคยอ่านพบในหนังสือเล่มหนึ่งว่าตอนที่ท่านมาปลุกเสก ระกริ่งพุทธชัยศรีที่วัดกลางบางแก้วช่วงที่นั่งพักผ่อน ญาติโยมที่ไปร่วมงานไม่มีใครสนใจท่านเพราะไม่เป็นที่ รู้จัก แต่พระดังๆในสมัยนั้นคนรุมล้อมเพียบ คนที่เขียนบทความนั้นก็ไม่รู้จักท่านแต่ได้เข้าไปถาม ท่านว่ามาจากไหน ท่านบอกว่ามาจากวัดหรงบน ท่านได้มอบรูปหล่อให้ด้วย ตอนท่านอยู่ชื่อเสียงของท่านเป็นที่รู้จักในวงแคบ วัตถุมงคลของท่านมีประสบการณ์มากมายในพื้นที่ แต่ไม่มีการประชาสัมพันธ์ จนหลังจากท่านมรณภาพไปแล้วก็ยังไม่เป็นที่รู้จักมากน้ก

ท่านมาดังเอาจริงๆจังๆก็ตอนงานฌาปนกิจศพของท่าน หลังจากท่านมรณภาพแล้วศพของท่านไม่เน่าเปื่อย กลับแข็งเป็นหิน พอถึงวันฌาปนกิจ ศพของท่านเผาไฟไม่ไหม้ แม้แต่จีวรห่อศพก็ไม่ไหม้ เป็นที่อัศจรรย์ ทางวัดจึงเก็บสรีระของท่านเอาไว้ให้คนไปกราบไหว้ นอกจากสังขารของท่านจะไม่เน่าเปื่อยแล้ว เล็บและผมของท่านงอกยาวออกมาเรื่อยๆ ต้องได้ปลงทุกปี

วัตถุมงคลที่ท่านสร้างเอาไว้มีพระปิดตาเนื้อว่าน 2 พิมพ์ พิมพ์ท้องอุกับพิมพ์ตะพาบ พระปิดตาเนื้อตะกั่วพิมพ์ท้องอุวงการยอมรับไม่เต็มที ่ เป็นที่ถกเถียงกันว่ามีหรือมั่วมานานแล้ว เหรียญท่านมีรุ่นเดียว รูปหล่อมีพิมพ์เดียวแต่มีแบบรมดำกับกะหลั่ยทอง ผ้ายันต์รอยมือรอยเท้า เชือกคาดเอว ตะกรุด สำหรับเชือกคาดเอวและตะกรุดคงเล่นหากันไม่ได้เพราะไม ่มีอะไรให้ดูได้เลยว่าเป็นของท่าน

อมตะสังขาร พระเถราจารย์เจ้า
ธรรมดาสังขารของมนุษย์โดยทั่วไปเมื่อสิ้นชีพแล้วก็จะเน่าสลายไปตามธรรมชาติ
แต่ก็มีสังขารของผู้ปฎิบัติหลายท่านที่ดำรงอยู่เป็นอมตะสังขารให้เห็นเป็นอัศจรรย์มากมายเท่าที่ข้าพเจ้ารวบรวมได้ก็นับพันรูปแล้ว เช่น หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง หลวงปู่ครูบาชัยวงศ์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม หลวงปู่เกษม สุสานไตรรัตน์ พ่อท่านเกลื่อม วัดคงคาวดี และหลวงปู่ชื้น วัดญาณเสนเป็นต้น
ในบทความนี้ผู้เขียนจะบอกเล่าถึงอมตะสังขารของพระเถราจารย์รูปหนึ่งที่นอกจากจะไม่เน่าเปื่อยไปตามธรรมชาติแล้ว ยังปรากฏเป็นอัศจรรย์เหนืออัศจรรย์คือพระเพลิงไม่สามารถทำให้อมตะสังขารของท่านเสื่อมสลายไปได้ นับเป็นปาฏิหาริย์หนึ่งในแผ่นดิน พระเถราจารย์ที่กล่าวถึงก็คือ หลวงปู่เขียว อินทมุนี แห่งวัดหรงบน

ปาฏิหาริย์หนึ่งในแผ่นดิน

วันที่ 18 พฤษภาคม 2520 ตรงกับ วันพุธ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็งถูกกำหนด
เป็นวันฌาปนกิจศพของหลวงปู่เขียว เริ่มจากพิธีการทางสงฆ์ พระสวดมนต์พิธี
จากนั้นกรรมการก็จุดไฟจนลุกกระจายโชติช่วงท่วมสังขารของหลวงปู่เขียวอย่างชัดเจน (เป็นการเผาแบบพื้นเมืองสามารถมองเห็นได้ทั่วทุกมุม) เปลวพระเพลิงลุกไหม้อยู่นานกว่า 1 ชั่วโมง “สาธุชนที่หลั่งไหลมาร่วมงาน 2-3พันคนเริ่มสังเกตเห็นชัดเจนว่า สังขารของหลวงปู่เขียวไม่ไหม้ไฟ เมื่อเปลวเพลิงมอดลงสิ่งที่ปรากฏต่อสายตาของทุกผู้คนก็คือ ดอกไม้กระดาษที่ใส่พุ่มมือหลวงปู่เขียว สบง จีวรและสังขารของท่านยังคงอยู่ในสภาพเดิมราวกับคนที่นอนหลับสนิท”เป็นปรากฏการณ์ที่ผู้ร่วมในพิธีไม่อาจลืมเลือนได้เลย เป็นปาฏิหาริย์หนึ่งในแผ่นดินทีเดียวเหตุการณ์ในวันนั้นไม่ได้จบอยู่เพียงเท่านั้น

เนื่องจากมีชาวบ้านหลายรายเกิดความสงสัยว่าทำไมสังขารท่านไม่ไหม้ไฟ
ก็เอาไฟไปเผาที่ร่างกายท่านแต่ก็ไม่สามารถทำให้ไหม้ได้ ก็พูดกันต่อว่าร่างกายไม่ไหม้ จีวร สบงก็ต้องไหม้ ก็เอาไฟไปเผาสบง จีวรอีก เผาอยู่นานก็ไม่ไหม้ จนคนเหล่านั้นยอมแพ้กราบขอขมาท่าน(คนที่อยู่ในเหตุการณ์ และยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน พ.ศ. 2549 ก็ยังมีอีกจำนวนมากทีเดียว)ปัจจุบันอมตะสังขารของหลวงปู่เขียว ประดิษฐานอยู่ในโลงแก้ว ที่วัดหรงบน อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

หลวงปู่เขียว
รูป หลวงปู่เขียว วัดหรงบน จ.นครศรีธรรมราช


พล.ท. เกรียงพล พงษ์ชัยบุตร ศรัทธา ‘หลวงปู่เขียววัดหรงบน’


พล.ท. เกรียงพล พงษ์ชัยบุตร เป็นอีกหนึ่ง “นายทหาร” ที่ผ่านศึกรบมาแบบที่เรียกว่า “โชกโชน” อีกผู้หนึ่งเพราะขณะเริ่มรับราชการ ทหาร กินยศ “ร้อยตรี” หลังจบ โรงเรียนนายร้อยเตรียมทหารรุ่น 3 จปร. รุ่นที่ 14 ก็ถูกส่งไปทำศึกกับ “ผู้ก่อการร้าย” ที่ อ.เชียงตำ, เชียงของ, ห้วยทราย แถมด้วยใน ประเทศลาว ในฐานะ “ผู้บังคับหมวด”โดยทำการรบ ในแถบนั้นนานถึง 2 ปีจึงมีประสบการณ์ที่ ค่อนข้าง โชกโชน ซึ่งคราวหนึ่งได้รับบาดเจ็บถึงขั้นสาหัสเพราะถูกระเบิดของ “ผู้ก่อการร้าย” ที่กลางหลังอย่างจังทั้งที่แขวนพระเครื่อง ไว้ในคอหลายองค์ซึ่งล้วนแต่เป็น “พระ เครื่อง” ที่คุณพ่อให้มาทั้งนั้น ด้วยเหตุนี้ตั้งแต่นั้นมาก็เลยไม่ค่อยยึดมั่นกับ “พระเครื่องนัก” แต่ก็ยังแขวนไว้เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวตามประสาผู้ชายไทยเท่านั้น
กระทั่งปีพ.ศ.2520 หลังเรียนจบจาก โรงเรียนเสนาธิการทหาร ก็ถูกส่งไปประจำการรบที่ จ.นครศรีธรรมราช จึงได้อ่านประวัติของ “หลวงปู่เขียววัดหรงบน” ที่หนังสือพระเครื่องลงประวัติท่านไว้ซึ่งหลังอ่านแล้วก็มีความรู้สึกว่าพระรูปนี้มีอะไรแปลก ๆ ดี แต่ก็ยังไม่ได้ ศรัทธาอะไรมากนักเพราะท่านละสังขารตั้งแต่ปี 2519 ต่อมาเมื่อย้ายไปประจำการที่ จ.พัทลุง ในตำแหน่ง “รองผู้บังคับกองพัน” ที่ต้องไป ตั้งฐานในถิ่น ผู้ก่อการร้าย ซึ่งช่วงนั้นกำลังมีอิทธิพลในท้องถิ่นมากแต่ก็มีเวลาว่างได้ไปกราบสรีระ “หลวงปู่เขียว” ที่ วัดหรงบน ที่นอนสงบ อยู่ในโลงแก้วเพราะ “สรีระหลวงปู่ไม่เน่าเปื่อย”

จากนั้นก็นำ “ผ้าพันคอ” ที่ผูกคอประจำตัว เป็นเครื่องหมาย ประจำหน่วย ไว้ใต้เท้าสรีระที่ ไม่เน่าเปื่อยของ “หลวงปู่เขียว” กระทั่ง 6 เดือนจึงกลับไปเอา “ผ้าพันคอ” ก็พบเห็นสิ่งแปลก ๆ คือ ปรากฏมี “รอยมือและรอยเท้า” ของ หลวงปู่ประทับไว้บนผ้าพันคอ ถึงกระนั้นก็ไม่ได้คิด อะไรและไม่คิดว่าเป็นอภินิหารใด ๆ อีกด้วย โดยเข้าใจว่าคงมีศิษย์ในวัดนำไป ประทับ รอยมือรอยเท้าให้ และพอกลับเข้าค่ายก็มีความคิดอยากนำผ้าพันคอผืนนี้ไป ทดลองยิง เพื่อพิสูจน์ว่าศักดิ์สิทธิ์ตามที่มีคนร่ำลือกันแต่ก็มีผู้ใต้บังคับบัญชา มา รายงานว่า “พระอาจารย์ทองวัดนาม่วง” ที่ พล.ท.เกรียงพล ให้ความนับถือฝากมาเตือนว่า อย่านำไปทดลองยิง เพราะผ้าผืนนี้ ศักดิ์สิทธิ ิ์มากหากนำไปทดลองยิงจะทำให้ มีอันเป็นไป

สร้างความแปลกใจให้ พล.ท.เกรียงพล มากแต่ก็ไม่เลิกล้มการทดลองยิงโดยวันรุ่งขึ้น เดินทางไป ที่วัดหรงบนอีกครั้งพร้อมกับตรงดิ่งไปพูดเชิงท้าทายที่หน้าโลงศพหลวงปู่เขียวว่า “ถ้าไม่ให้ลองยิงแล้วก็ไม่รู้ว่าผ้าจะ ศักดิ์สิทธิ์แค่ไหน ฉะนั้นคืนนี้ขอให้หลวงปู่มาเข้าฝัน” โดยตั้งแง่ว่าถ้าจะมาเข้าฝันต้องให้เป็นคืนนี้เลยจะได้รู้ว่าหลวงปู่ศักดิ์สิทธิ์จริง

ตกดึกคืนนั้นขณะหลับสนิท พล.ท.เกรียงพล ก็ฝันเห็นหลวงปู่เขียวมายืนอยู่ข้างเตียงพร้อมถามว่า “กูมาแล้วมึ-งจะเอายังไง” พล.ท.เกรียงพลจึงยกมือไหว้พร้อมตอบหลวงปู่ว่าเชื่อแล้วศักดิ์สิทธิ์จริง ตั้งแต่นั้นมาจึงแวะเวียนไปกราบสรีระท่านในโลงแก้ว เป็นประจำ พร้อมหา “วัตถุมงคล” ที่ท่านสร้างไว้ทั้ง “พระปิดตาเนื้อว่านพิมพ์


ตะพาบ” พร้อม “ฟันหลวงปู่” ที่ถอนออกขณะยังมีชีวิต โดยมีคนร ู้จักนำมาให้แถมด้วย “ก้างปลา” ที่หลวงปู่คายทิ้งไว้แต่กลับมีลักษณะเหมือน “เศียรฤาษี” ที่ลูกศิษย์หลวงปู่เก็บไว้มาแขวน ประจำตัว ส่วนอีกประสบการณ์ที่ได้พบแบบแทบ “เข้าตาจน” เมื่อครั้งเข้ารับพระราชทาน วุฒิบัตรติดยศ “นายพล” จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ที่สวนอัมพรซึ่งอักษรชื่อของ พล.ท. เกรียงพล คือ “ก.ไก่” จึงได้ยืนอยู่แถวหน้าสุดซึ่งขณะยืนเข้าแถวเพื่อนนายทหาร ผู้หนึ่ง ได้เอ่ยบอก พล.ท. เกรียงพล ว่า “เกรียงพลคุณไม่ได้ติดช่อชัยพฤกษ์นี่” เท่านั้นเอง พล.ท. เกรียงพล แทบจะเป็นลมเพราะนั่นก็คือการ แต่งตัวไม่เรียบร้อย ของนายทหารจะต้องถูกคัดชื่อออกหมดสิทธิรับพระราชทานยศในวันนั้นทันที พล.ท. เกรียงพล รีบแก้ไขสถานการณ์ ด้วยการเดินไปขอยืมเพื่อนที่ท้ายแถว เพราะต้องติดยศก่อนแต่ก็ไม่มีใครให้ยืมเลยเนื่องจากจวนถึงเวลาเสด็จฯแล้ว

ที่สุดก็ได้แต่อธิษฐาน ถึง “หลวงปู่เขียว” ขอให้ท่านช่วยแล้วกลับมายืนบ่นอย่างกระวนกระวายให้ พ.อ.กสิเดช ที่เพิ่งมายืนอยู่ข้าง ๆ ฟังซึ่งพอได้ยิน พ.อ.กสิเดช ก็ล้วงเอา “ช่อชัยพฤกษ์” ในกระเป๋าเสื้อออกมาส่งให้ในลักษณะเหมือนมี “พระมาโปรด” พล.ท.เกรียงพลรีบรับช่อชัยพฤกษ์มาติดที่คอเสื้อ ชุดขาวขณะที่เสียงแตรดังขึ้นเพราะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ แล้วซึ่งเป็นเรื่องที่หากไม่เกิดขึ้นกับตัวเอง พล.ท. เกรียงพล ก็ยากที่จะเชื่อจึงนำมาเล่าสู่กันฟังแบบหาก “ใครไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่” เพราะเรื่องทำนองนี้มีบ่อยมากในแผ่นดินไทย.


หนังสือพิมพิ์เดลินิวส์/ภวันตุเม..

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

อยากได้รูปและประวัติเพื่อรวบรวมทำเว็บของวัดครับp.khran@yahoo.co.th 075470995วัดหรงบน 0862892820 ครัน