รายการบล็อกของฉัน

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551

พระเกจิใด ที่ตอนนี้ทางใต้เขาเล่นหากัน

1.พระครูแก้ว วัดปทุมธายิการาม สุดยอดพระสิชลเป็นอาจารย์ของพระสายสิชลเหรียญรุ่นแรกเป็นเบญจะภาคีเมืองนครทีเดียว ที่วัดของท่านสมัยก่อนมีงานก็จะมีงูมาทั้งวัดมาหาท่านโดยไม่ทำอะไรชาวบ้านงูมาไห้ท่านเหยียบหัวเล่นเป็นพระที่ร่วมเสกพระครูกาแก้วรุ่นแรกด้วย

2.พ่อท่านโบ วัดศิลาชลเขต เป็นพระที่พ่อท่านคล้ายยังนับถือพระรุ่นแรกแม้ไม่นท่านเสกก็เสกโดยพ่อท่านคล้ายและขุนพันธ์และนำเอาไปมโภสที่วัดสุทัศ ประวัดสั่งจระเข้ไห้จมนำได้เพราะจระเข้ไปกินควายของท่านและไม่ไห้จระเข้มาทำร้ายชาบ้านที่คลอง

3.พ่อท่านผอม วัดดอนไคร เป็นศิษย์พ่อท่านจีน แต่ได้ญานสูงเป็นพระที่พ่อท่านคล้ายยกย่องไห้เท่ากัน ท่านสามารถทำนายอนาคตได้ล่วงหน้าเป็นร้อยปีพระรุ่นแรกของท่านดีท่างคงกระพันมหาอุตและหายากมาก

4.พ่อท่านสุข วัดคงคาวดี เป็นพระสมัยพระครูแก้ว เป็นอาจารย์ของพ่อท่านบุญรักษ์ เหรียญรุ่นแรกหายากที่สุดในสิชล

5.พ่อท่านจีน วัดสโมสรสันนิบาต ศิษพระครูแก้วท่านเป็นพระเคร่งครัดทางวินัยของขึ้นชื่อของท่านคือลูกสกดเวลาเสกท่านจะนั่งเข้าหาพระลูกสกดจะอยู่ในบาทข้างหลังพอท่านเสกลูกสกดจะวิ่งในบาทเองเป็นที่แปลกใจของศิษย์ลูกที่แรงมากโดดจากบาทท่านจะเก็บใว้เองปัจจุบันอยู่ใต้รูปหล่อของท่าน

6.พ่อท่านมาศ วัดเขาพนมไตย เป็นศิษย์ของพระครูแก้วประวัติเรื่องความศักดิ์ษิตไม่ต้องพูดถึง เคยไปสวดงานศพกับพ่อท่านยังขากลับฝนตกเลยลองวิชากันว่ากลับวัดอย่าไห้เปียกพ่อท่านมาศก็เดินกลับัทั้งที่ฝนตกหนักไม่กางร่มกลับไม่เปียกจีวรแห้งปกติ

7.พ่อท่านช่วง วัดขรัวช่วย เป็นพระที่ชาวหมู่บ้านต้นเหรียงนับถือมากมีวาจาศิต มีชาวบ้านเอาพล้าใล่ฟัน ก็ฟันไม่ได้ ท่านบอกอย่าไปพูดกะใครอยู่ได้สามวันทนไม่ใหวพูดก็ตายเลยท่าเป็นพระนักพัฒนาทำดี พระของท่านเด่นทางคงกระพัน

8.พ่อท่านบุญรักษ์ วัดคงคาวดี เป็นพระที่คนนับถือมากประวัติท่านแปลกประหลาดหลายเรื่องท่านเป็นลูกบุญธรรมของพ่อท่านสุขเพราะตอนเด็กๆท่านคลานไปนั่งบนตักของ พ่อท่านสุข ๆท่านรู้ว่าต่อไปพ่อท่านบุญรักษ์จเป็นพระที่ดีเลยขอเป็นลูกบุญธรรม ความศักดิ์ษิตของท่านเล่าสามวันก็ไม่จบ พระของท่านเดนทางพุธทคุณสุดยอด

9.พ่อท่ายัง วัดเขาน้อย ศิษดิ์พระครูแก้วอีกรูป ที่เก่งกาจมากตอนที่ลองวิชากะพ่อท่านมาศพอพ่อท่านมาศมาถึงพ่อท่านยังก็มานังอยู่แล้วจีวรยังแห้งปกติ ท่านคงหายตัวได้

10.พ่อท่านพัฒน์ วัดกลาง เป็นพระที่มีวิชาอาคมสูงชาวบ้านเคารพมาก

11.พ่อท่านร่าน วัดสโมสรสันนิบาต เป็นศิษของพ่อท่านจีนความศักศิษดิ์ไม่ต้องพูด วัดเขาคามีเด็กเป็นลมพร้อมกันทั้งโรงเรียนทำไงก็ไม่หายไปเชิญท่านมาท่านนั่งหลับตาอยู่30วินาทีก็บอกว่ากูด่าไห้แล้วเด็กๆก็หายเป็นปลิดทิ้ง และหายตัวได้ด้วย

12.พ่อท่านช่วงเฒ่า วัดขรัวช่วย เป็นพระที่พัฒนาเก่งมีญาณสูงอีกท่านเหรียญท่านมีรุ่นเดียวหายากมาก
ยังมัอีกหลายท่านที่ยังไม่ได้เล่าใว้คาวหน้านะงับ


เอาแถวเชียรใหญ่ละกันนะครับ

1. พ่อท่านจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ ท่านนี้ศักดิ์สิทธิ์มากถึงขนาดขยายร่างกายให้ยืดยาวเต็มลานวัด หรือสูงเทียมปลายไม้ได้ ท่านเป็นลูกศิษยพ่อท่านเอียดดำ วัดในเขียว พระครูขำ วัดหรงบน พ่อท่านซัง วัดวัวหลุง พ่อท่านทอง วัดดอนสะท้อน พระของท่านเด่นทางคงกระพัน แคล้วคลาด มหาอุด ขุนพันธ์ยังนับถือ เสกพระที่ไหนมักจะนิมนต์พ่อท่านจันทร์ไปด้วยเสมอ

2. พ่อท่านสังข์ วัดดอนตรอ ท่านผู้นี้มีปฏิปทาน่าเลื่อมใสมาก ใจเย็น พูดน้อย แต่ศักดิ์สิทธิ์มาก พ่อท่านคลิ้งยังยกย่องถึงพุทธาคมว่าสูงเป็นเลิศ แถมอายุยืนถึง 98 ปี

3. พ่อท่านหนูจันทร์ วัดแดง ท่านเป็นลูกศิษย์พ่อท่านชูเฒ่า วัดพัทธสีมา ท่านมีเมตตามาก สิงสาราสัตว์มาอยู่ด้วยเต็มวัด พระของท่านทุกรุ่นเป็นที่นิยมของคนในท้องถิ่นมาก โดยเฉพาะสายคาดเอว ลุงผมเป็นหลานของท่านคาดเอวแล้วโดนโจรปล้นบ้าน โจรยิง แกปัดลูกกระสุนทิ้งเหมือนปัดลูกประทัด ไม่เข้าสักเม็ด เป็นแต่รอยแดง ๆ ไม่น่าเชื่อ สุดยอดจริง ๆ

4. พ่อท่านจับ วัดท่าลิพง ท่านนี้คมในฝัก เก่งมากแต่ไม่ค่อยแสดงออก แต่เรื่องคงกระพัน เชื่อใจได้ครับ

5. พ่อท่านเพิ่ม วัดหนองหม้อ เด่นด้านเมตตามหานิยม แต่ด้านอื่น ๆ ก็เชื่อได้ครับ

6. พ่อท่านสุข วัดบางทองคำ เป็นสหธรรมิกของพ่อท่านซัง วัดวัวหลุง และเป็นอาจารย์พ่อท่านแสง วัดในเตา เหรียญรุ่นแรกสุดยอดมากทางด้านมหาอุด คงกระพัน แคล้วคลาด ขนาดเป็นเหรียญตายของท่าน สร้างสมัยพ่อท่านคง อดีตเจ้าคณะอำเภอเชียรใหญ่ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ท่าน คนข้างวัดเก็บกันเงียบ ไม่ปล่อยให้ใครง่าย ๆ

7. พ่อท่านบุญมี วัดเภาเคือง ท่านมรณะแล้วสังขารไม่เน่าเปื่อย พระที่ท่านสร้าง ตอนนี้หากันมากครับ คนข้างวัดถูกหวยกันอยู่เรื่อย ลองไปกราบท่านดู อาจได้อะไรมาก็ได้

8. พ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน สรรพคุณไม่ต้องบรรยาย เก่งจริง พิสูจน์ได้ พระของท่านดีทุกรุ่นครับ

๑ .อาจารย์เนียม ฐิตธฺมโม วัดนิโครธาราม (บางไทร)

๒ .พ่อท่านขาว วัดปากแพรก (พระอุปัชฌาของอาจารย์เนียม)

๓ .พ่อท่านเขียว วัดหรงบน

๔ .อาจารย์เพชร วัดป่าระกำล่าง (พระอุปัชฌาพ่อท่านสังข์ วัดดอนตรอ บวชปี ๒๔๗๑ บวชสามเณรให้อาจารย์เนียม ปี ๒๔๗๕ หลังจากนั้นท่านก็สิ้นบุญ)

๕ .พ่อท่านสังข์ วัดดอนตรอ ศิษย์องค์แรก ของอาจารย์เพชร

1.พระครูแก้ว วัดปทุมธายการาม

2. พ่อท่านโบ วัดศิลาชลเขต

3. พ่พ่อท่านยัง วัดเขาน้อย

4. พ่อท่านมาศ วัดเขาพนมไตย

5.พ่อท่านช่วง วัดขรัวช่วย

6.พ่อท่านพัฒน์ วัดกลาง

7.พ่อท่านร่าน วัดสโมมสรสันนิบาต

ประวัติพ่อท่านแก่น วัดทุ่งหล่อ


ประวัติพ่อท่านแก่น วัดทุ่งหล่อ

พ่อท่านแก่นเกิดวันเสาร์ที่ 5 เมษายน 2449 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีจอ บิดาชื่อ ทับ มารดาชื่อ เนี่ยว นามสกุลเดิม ทองชุม สมัยเด็กซนมากพ่อแม่จึงเรียกว่า แก่น ด้วยความที่เกิดวันแข็ง คือ เสาร์ 5 เดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำ จึงมีความขลังในตัวเอง ชอบด้านอิทธิฤทธิ์ และสนใจวิชาไสยศาสตร์ ตั้งแต่วัยหนุ่ม และได้ศึกษาไสยศาสตร์กับพ่อท่านซัง วัดวัวหลุง เมื่อศึกษาก็ทดลองทำได้ผลเป็นที่อัศจรรย์ใจและพอใจแก่พ่อท่านซังเป็นอย่างมาก พออายุ 21 ปี ก็บวชที่วัดวัวหลุง โดยมีพระครูอรรถธรรมรส ( พ่อท่านซัง) เป็นอุปัชฌาย์ ได้ฉายา ธมมสาโร บวชเรียนอยู่กับพ่อท่านซัง

และศึกษาวิชาจนแตกฉาน ถึงกับไม่ยอมสึก แต่บิดามารดาขอร้องให้ออกมาช่วยทำไร่ ทำนา เพราะมีลูกชายคนเดียว ท่านถึงยอมสึก ระหว่างนั้นก็ช่วยชาวบ้านรักษาเรื่องกระดูกแตกหัก อยู่เรื่อยมา เพราะแค่ทาด้วยน้ำมันก็หาย อยู่ช่วยงานทางบ้าน ได้ประมาณ 10 ปี ก็กลับไปบวชอีก ซึ่งอายุ 31 ปีพอดี โดยมีพระครูชลาการสุมน (พ่อท่านเดช วัดควนเกย ) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพ่อท่านเดชท่านก็เป็นลูกศิษย์พ่อท่านซังและศักดิ์สิทธิ์มากด้วย โดยมีพ่อท่านทัศน์ วัดหนองแคเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ไดรับฉายาเดิม หลังจากอุปสมบทครั้งที่ 2 แล้วก็รีบทบทวนวิชาการต่าง ๆ ที่ได้เล่าเรียนมากจากอาจารย์ต่าง ๆ เช่น พ่อท่านซัง พ่อท่านเดช พ่อท่านทัศน์ พ่อท่านเกลี้ยง (ทัศน์-เกลี้ยง เป็นพี่น้องกัน )

หลังจากนั้นพ่อท่านแก่นก็ไปจำวัดที่วัดทุ่งหล่อ ซึ่งเมื่อก่อนเดินทางไปมาลำบากมาก แต่ด้วยบุญบารมี อิทธิ์ฤทธิ์ อภินิหารจริยาวัตรงดงาม ทำให้ผู้คนดั้นด้นไปหาจนถึงวัดทุ่งหล่อ และพ่อท่านได้ทำการพัฒนาวัดพร้อมไปกับพัฒนาจิตใจของผู้คนละแวกนั้นไปด้วย
พระเครื่อง วัตถุมงคลของพ่อท่านแก่น ได้แก่


1.เหรียญรุ่นแรก ปี 2516
2.เหรียญรุ่นสอง ปี2518
3.เหรียญรุ่นสรงน้ำ สร้าง ปี 2520 จำนวน 5000 เหรียญ (ท่านอาบน้ำปีละ 1 ครั้ง)

4.พระปิดตา ท่านจะสร้างตามตำราดั้งเดิม คือ ลงอักขระเลขยันต์ ในโลหะตามมงคลสูตร แล้วเทหล่อเองทีละ 1 องค์ ด้วยเนื้อเงินยวงและเนื้อสัมฤทธิ์ และขนาดจะไม่เท่ากัน เพราะเททีละองค์นั้นเอง แต่พอแยกได้ 3 ขนาด คือ ใหญ่ กลาง เล็ก ซึ่งจะหล่อตามกำลังวัน ตามฤกษ์ วันละไม่เท่ากัน พระปิดตาของท่านสร้างตั้งแต่ปี24กว่าจนถึงปี251กว่า ซึ่งหล่อมาก่อนปี 2500 พอได้ตามที่ท่านต้องการจึงออกแจก

5. เหรียญรุ่นไตรมาส เป็นเหรียญที่สร้างเป็นพิเศษ กรรมวิธีเป็นไปตามขั้นตอนของพ่อท่าน และทำให้อย่างดีที่สุดเพราะมอบให้ผู้ที่ร่วมบูรณะวัดทุ่งหล่อ และปลุกเศกตลอดพรรษาก่อนจะนำแจก
6.สายคาดเอวพ่อท่านแก่น เป็นที่นิยมมากในท้องถิ่น เพราะท่านทำเองกับมือทุกเส้น ด้านคงกระพันเป็นเยี่ยม

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2551

พ่อท่านคล้าย "นักบุญแห่งดินแดนทักษิณ"


ประวัติ พระครู พิศิษฐ์อรรถการ


** พระครูพิศิษฐ์อรรถการ หรือ 'พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์' เป็นพระเกจิอาจารย์แถวหน้าของภาคใต้ ที่ใครๆ ก็รู้จัก เดิมท่านชื่อ คล้าย สีนิล เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๔๑๙ ที่บ้านโคกทือ ต.ช้างกลาง กิ่งอำเภอช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ ๑๙ ปี ที่วัดจันดี ต.หลักช้าง โดย พระอธิการจัน เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมี พ่อท่านกราย วัดหาดสูง เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วไปจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งปอน หรือวัดจันดี ท่านเป็นพระนักพัฒนา สร้างวัดไว้หลายแห่ง จนได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูพิศิษฐ์อรรถการ ท่านมรณภาพด้วยโรคหืด เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๓ สิริรวมอายุได้ ๙๖ ปี สรีระของท่านบรรจุอยู่ในหีบแก้ว ในสภาพที่ไม่เน่าเปื่อย และเป็นสรีระอมตะจนถึงปัจจุบัน

** พระเครื่องของ พ่อท่านคล้าย มีทุกรูปแบบ หลายรุ่นมีราคาเช่าหาแพง เช่น เหรียญรุ่นแรก ปี ๒๔๙๙ ที่เห็นนี้ เป็นเหรียญของ แมว ทุ่งสง ผู้ประสบความสำเร็จจาก จตุคามฯ รุ่น 'ทรัพย์เทวา' หลังจากนั้นกลับไปพักผ่อนที่ จ.นครศรีธรรมราช จนถึงวันนี้ได้กลับคืนสู่ กทม.อีกวาระหนึ่ง พร้อมกับพระสายใต้อีกจำนวนมากมาย เหรียญพ่อท่านคล้าย รุ่นแรก อันนี้คือหนึ่งในจำนวนนั้น ** ท่านสวัสดิ์ โชติพานิช อดีตประธานศาลฎีกา ท่านเป็นชาวเมืองพัทลุง สมัยที่ท่านได้เดินทางไปเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดเบตง ช่วงปี ๒๕๐๕ นั้น ท่านได้เป็นผู้จัดสร้าง พระหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ จ.ปัตตานี

ที่เรียกกันในเวลาต่อมาว่า 'รุ่นเลขใต้ฐาน' เป็นพระรูปเหมือนหลวงพ่อทวด ที่ฐานไม่มีดอกบัวรองรับ เหมือนกับพระหลวงพ่อทวดรุ่นอื่นๆ ปัจจุบัน พระหลวงพ่อทวด รุ่นเลขใต้ฐาน ที่สร้างขึ้นเพื่อหารายได้ถวาย วัดพุทธาธิวาส อ.เบตง จ.ยะลา รุ่นนี้ มีราคาเช่าหากันองค์ละหลายแสนบาทขึ้นไป

นับได้ว่าท่านเป็น 'นักบุญแห่งดินแดนทักษิณ' ก็ย่อมได้ทั้งนี้เพราะว่าบารมีของท่านได้สร้างความเจริญให้กับท้องถิ่นทางภาคใต้เอาไว้มากทั้งสาธารณประโยชน์และการพระศาสนาทั้งนี้ก็เกิดมาจากความศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน โดยเฉพาะคุณวิเศษของท่านทาง 'วาจาศิทธิ์' จนมีการเรียกขนามพ่อท่านคล้ายมีสร้อยห้อยท้ายกันว่า... 'พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์' วัตถุมงคลพ่อท่านคล้ายได้มีการสร้างมากมายหลายสิบรุ่น มีทั้งที่ออกจากวัดสวนขันเองและไปออกที่วัดอื่นๆ



พระครู พิศิษฐ์อรรถการ (คล้าย จนทวณโณ)

อดีตเจ้าอาวาสวัดสวนขันและวัดพระธาตุน้อย

ประวัติ

๑. สถานะเดิม
พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เดิมชื่อ คล้าย สีนิล เกิดวันอังคาร เดือน ๔ ปีชวด พ.ศ. ๒๔๑๗ ที่บ้านโคกทือ ตำบลช้างกลาง กิ่งอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอินทร์ นางเนี่ยว สีนิล ลักษณะนิสัย เป็นคนมีมานะอดทน ขยันหมั่นเพียร อยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของบิดามารดาและครูอาจารย์อย่างเคร่งครัด สุภาพ เรียบร้อย ว่านอนสอนง่าย นิสัยอ่อนโยนละมุนละมัย จึงเป็นที่รักของบิดมารดา ครูอาจารย์และญาติมิตรเป็นอันมาก เมื่ออายุ ๑๕ ปี ประสบอุบัติเหตุในการถางป่าทำไร่กระดูกปลายเท้า สามนิ้วแตกละเอียด รักษาไม่หาย ด้วยกำลังใจที่เด็ดเดี่ยว พ่อท่านคล้ายได้ใช้มีดตัดปลายเท้าออกด้วยตัวเอง

และใช้ยาพอกจนหายเป็นปกติ แล้วได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณรที่วัด อำเภอฉวาง เมื่ออายุครอบ ๒๐ ปี จึงได้อุปสมบท ณ อุทกุกเขปสีมา หรือศาลาน้ำ ได้รับฉายาว่า จนทสวณโณ โดยมีพระครูกราย คงคสุวณโณ เจ้าอาวาสวัดหาดสูง เป็นพระอุปัชฌาชย์ แล้วได้ไปจำพรรษา อยู่ที่วัดทุ่งปอน หรือวัดจันดี พ่อท่านคล้ายมรณภาพด้วยโรคหืด เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ..ศ. ๒๕๑๓ รวมอายุได้ ๙๖ ปี เมื่อบำเพ็ญกุศลครบ ๑๐๐ วัน จึงได้บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ในสัตตมวารหรือพระเจดีย์น้อยวัดพระธาตุน้อยจนถึงปัจจุบัน

๒. การศึกษา
การศึกษาเบื้องต้น พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เริ่มศึกษาเบื้องต้นที่บ้าน โดยบิดาเป็นผู้สอน เรียนวิชาคำนวน และวิชาอักษรโบราณ จนสามารถอ่านออกเขียนชำนาญ ทั้งหนังสือไทยและหนังสือขอม ต่อมาศึกษาต่อในสำนักนายขำ ที่วัดทุ่งปอน บ้านโคกทือ จนจบหลักสูตร ต่อมาได้ไปฝึกหัดเล่นหนังตะลุงกับนายทองสาก ประกอบกับพ่อท่านคล้ายมีหน้าตาดี น้ำเสียงไพเราะ จึงมีคนติดใจการเล่นหนังตะลุงของท่านมากการศึกษาสมัยอุปสมบท เมื่อบวชเป็นพระสงฆ์ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ศึกษาภาษาบาลี (มูลกัจจายนะ) ณ สำนักวัดหน้าพระบรมธาตุฯ โดยมีพระครูกาแก้ว (ศรี) เป็นอาจารย์ ต่อมาได้ศึกษาทางวิปัสสนากัมมัฎฐานที่สำนักวัดสามพัน อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีอาจารย์หนูเจ้าอาวาสเป็นผู้สอน

ผลงานและเกียรติคุณได้รับ
๑. ได้รับสมณศักดิ์
ได้เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่พระครูพิศิษฐ์อรรถการในปีพ.ศ.๒๔๙๘ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นพิเศษในนามสมณศักดิ์เดิมแต่ประชาชนทั่วไปเรียกท่านตามชื่อเดิมว่า พ่อท่านคล้าย

๒. ได้รับตำแหน่ง

๒.๑ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสวนขันตำบลละอาย อำเภอฉวาง ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ จนมรณะภาพ

๒.๒เป็นเจ้าอาวาสวัดธาตุน้อยในพ.ศ.๒๕๐๐เนื่องจากมีการสร้างถนนผ่านกลางวัดจันดีหรือวัดทุ่งปอนทำให้วัดถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนประชาชนได้ประชุมตกลงสร้างวัดใหม่ในเนื้อที่ที่แยกออกไป เรียกว่า วัดพระธาตุน้อย และแต่งตั้งให้พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เป็นเจ้าอาวาส

๓. ผลงานที่สำคัญ

๓.๑. งานด้านศาสนา
พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เป็นผู้นำในการสร้างวัดพระเจดีย์ พระพุทธรูป และร่วมกันในการปฏิสังขรณ์บูรณะศาสนสถานเป็นจำนวนมาก ผลงานสำคัญ ดังเช่นสร้างวัด พ่อท่านคล้ายเห็นความสำคัญของปูชนียสถาน จึงได้สร้างวัดขึ้นหลายแห่ง ได้แก่ วัดมะปรางงาม ตำบลละอาย อำเภอฉวาง ใน พ.ศ. ๒๔๙๐ ต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๐ ทายาทอึ่งค่ายท่าย ถวายที่ดินใกล้ตลาดนาบอน จึงสร้างวัดขึ้นเรียกชื่อตามสมณศักดิ์ว่า วัดพิศิษฐ์อรรถการาม และวัดที่สำคัญที่สุดคือวัดพระธาตุน้อย หรือคนทั่วไปเรียกว่า วัดพ่อท่านคล้าย พระครูพิศิษฐ์อรรถการได้สร้างขึ้นใหม่ และสร้างเจดีย์องค์ใหญ่ไว้เป็นอนุสรณ์

โดยยึดรูปแบบมาจากวัดพระมหาธาตุทั้งหมด การก่อสร้างสำเร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๓สร้างพระเจดีย์ พ่อท่านคล้ายได้สร้างพระเจดีย์ไว้หลายองค์ ได้แก่ เจดีย์วัดสวนขัน เจดีย์บ้านควรสวรรค์ ตำบลนาแว อำเภอฉวาง เจดีย์วัดยางค้อม อำเภอพิปูน และที่จังหวัดสุราษฏณ์ธานี ได้แก่ เจดีย์วัดสวนขันอำเภอพระแสง และเจดีย์หน้าถ้ำขมิ้น บนภูเขาอำเภอนาสาร

๓.๒ งานด้านพัฒนาท้องถิ่น
พ่อท่านคล้าย จัดได้ว่าเป็นนักพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ตลอดชีวิต ทำงานโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ได้เดินทางไปพัฒนาในที่ต่าง ๆ มากมาย สร้างถนน สะพานมากมาย ด้วยเมตตาบารมีและความเคารพศรัทธาของศิษย์และประชาชน ดังเช่น สร้างถนนเข้าวัดจันดี ถนนจากตำบลละอายไปพิปูน ถนนจาก
วัดสวนขันไปยังสถานีรถไปคลองจันดี ถนนจากตำบลละอายไปนาแว ถนนระหว่างหมู่บ้านในตำบลละอาย สะพานข้ามคลองคุดด้วนเข้าวัดสวนขันสะพานข้ามแม่น้ำตาปีจากตลาดทานพอไปนาแว สะพานข้ามคลองเสหลา หน้าวัดมะปรางงาม สะพานข้ามคลองจันดี เป็นต้น

๓.๓ ด้านความมีเมตตาและวาจาสิทธิ์

ศิษย์ยานุศิษย์และประชาชนที่เคารพนับถือ ศรัทธาพ่อท่านคล้ายได้เชื่อถือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของวาจา พูดอย่างไรเป็นอย่างนั้น พ่อท่านคล้ายจะพูดจากับทุกคนด้วยใบหน้ายิ้มแย้มและแจ่มใสอารมณ์เยือกเย็นอยู่ตลอดเวลา ท่านมักจะให้พรกับทุกคน 'ขอให้เป็นสุขเป็นสุข' ผู้ที่เคารพนับถือท่านต่างพากันกลัวคำตำหนิ เพราะผู้ที่ถูกตำหนิทุกรายล้วนแต่พบความวิบัติ คนส่วนมากจึงหวังที่จะได้รับคำอวยพร เพราะคำเหล่านั้นเป็นการพยากรณ์ที่แม่นยำทั้งในทางดีและทางเสื่อมเสีย คนที่ไปนมัสการหวังที่จะได้วัตถุมงคล บ้างขอน้ำมนต์ ชานหมาก แหวน ผ้ายันต์ เหรียญ รูปหล่อ รูปพิมพ์ ซึ่งพ่อท่านคล้ายก็ได้มีเมตตาให้กับทุกคน

หลวงพ่อปลอด ติสฺสโร


หลวง พ่อปลอด



หลวง พ่อปลอด ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2410 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ณ บ้านเกาะใหญ่ อ.เมือง จ.สงขลา บิดาชื่อ เปรม มารดาชื่อ เอียด (สมัยนั้นยังไม่มีนามสกุลใช้) มีพี่น้องรวมกัน 3 คน คือ นางหนู หลวงพ่อปลอดและนายผอมหรือพระผอม (บวชอยู่ ณ วัดบ่อท่อ อ.ระโนด จ.สงขลา)


เมื่อยังเยาว์หลวงพ่อปลอดได้เล่าเรียนหนังสือที่บ้านพ่อตาขุน(พ่อเฒ่าบ้าน ในสมัยนั้น) เมื่ออายุได้ 20 ปี ได้ถูกเกณฑ์ทหารไปรบที่เมืองไทรบุรี เจ้าเมืองแขกเป็นกบฏ หลวงพ่อปลอด กลัวจะถูกเกณฑ์ทหารจึงได้หลบขึ้นไปอาศัยกับญาติที่บนภูเขาในท้องที่ ต.เกาะใหญ่ ภายหลังเมื่อต้องการที่จะพ้นความผิด จึงได้ตกลงที่จะบวช ในที่สุดก็ได้บวชเมื่ออายุ 20 ปีนั่นเอง ณ วัดพังตรี มีหลวงพ่อเสน เจ้าอาวาสวัดพังตรีเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแก้ว เจ้าอาวาสวัดแจ้ง ต.ระวะ อ.ระโนด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ บวชแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดแจ้งกับหลวงพ่อแก้วเป็นเวลาถึง 15 พรรษา ซึ่งหลวงพ่อแก้วเป็นพระที่มีความรู้ทางไสยศาสตร์ เวทย์มนต์ คาถาอาคมต่าง ๆเป็นที่เคารพนับถือของชาว ต.ระวะ ตลอดจนตำบลใกล้เคียงเป็นอันมาก

หลวงพ่อปลอดจึงได้ศึกษาธรรมะและวิชาทางไสยศาสตร์ ตลอดจนวิชาการต่าง ๆ จากอาจารย์แก้วจนชำนาญ แล้วได้ออกจากวัดแจ้งเมื่ออายุประมาณ 35 ปี เดินทางมายัง อำเภอปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราช พักอยู่ที่วัดบางทองคำ ซึ่งขณะนั้นมีหลวงพ่อนาคเป็นเจ้าอาวาส เพื่อต้องการนำเรือไปแข่งกับเรือของวัดเนินหนองหงษ์ จ.สงขลา ได้นำเรือไป 1 ลำ แต่ก็แข่งไม่ชนะ เลยเดินทาง กลับไปยัง อ.ปากพนัง อีก ภายหลังต้องการไปหาเรือที่ อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช


หลวงพ่อปลอดจึงได้เดินทางไปยังวัดกะเบียดกับพวกอีก 5 คน แต่วัดกะเบียดไม่มีเรือเลยได้ไปพบกับหลวงพ่อบัว เจ้าอาวาสวัดนาเขลียง ได้เรือชื่อพยอมไป 1 ลำ พาออกเดินทางไปตามคลองแม่น้ำตาปี ออกบ้านดอน จ.สุราษฏร์ธานี เลียบฝั่งไปถึงสงขลา เอาเรือไปแข่งกับวัดเนินหนองหงส์แต่ก็ไม่ชนะอีก แล้วต่อมาภายหลังได้กลับไปอยู่วัดนาเขลียงอีกครั้งหนึ่ง ได้รู้จักกับ หมื่นณรงค์ จงจิตร (หรือขุนพิปูนเปรมประดิษฐ์) กำนันตำบลพิปูนและพ่อท่านแดง (พระครูรังสรรค์ อธิมุตต์)เจ้าอาวาสวัดหาดสูง

เมื่ออายุประมาณ 37 ปี ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2451 หลวงพ่อบัว(เจ้าอาวาสในขณะนั้น)ได้มรณภาพลง ชาวบ้านบ้านนาเขลียงจึงได้นิมนต์หลวงพ่อปลอดให้เป็นเจ้าอาวาสวัดนาเขลียง นับแต่นั้นมา หลวงพ่อปลอด ติสฺสโร มรณภาพด้วยโรคลมปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ. 2483 รวมอายุได้ 73 ปี

พ่อท่านปรมาจารย์ เอียดดำ วัดศาลาไพ นครศรีธรรมราช




พ่อท่านเอียดดำ (เอียด อริยวังโส)
พ่อท่านปรมาจารย์ เอียดดำ วัดศาลาไพ นครศรีธรรมราช


เมื่อหลายปีก่อนผู้เขียนได้เคยสอบถามคุณตาขุนพันธ์ว่า นอกจากสำนักเขาอ้อ จ.พัทลุง แล้วใน จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งในยุคก่อนก็นับว่ามีพระเกจิแก่กล้าวิชาอยู่มากมาย คุณตาศึกษาร่ำเรียนไสยเวทจากท่านผู้ใดบ้างไหม คุณตาตอบโดยไม่คิดว่าในยุคปี 2480 นั้นท่านมีอาจารย์อยู่สองเอียดที่ถ่ายทอดสรรพวิชาอาคมให้เอียดหนึ่งคือ พระอาจารย์ เอียด วัดดอนศาลา พัทลุง และอีกเอียดหนึ่งคือพ่อท่านเอียดดำ วัดศาลาไพ นครศรีธรรมราช

ทั้งสองเอียดนี้เป็นเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในแคว้นแดนใต้ยุคนั้น ผู้เขียนเองก็เคยได้ยินนาม พ่อท่านเอียดดำอยู่เสมอ เพราะเหรียญรูปเหมือนของท่านมีค่านิยมสูงหลายหมื่นบาท และนับเป็นเหรียญยอดนิยมหนึ่งในเหรียญเบญจภาคี ของนครศรีธรรมราช กล่าวกันว่าวัตถุมงคลเครื่องรางของขลัง ซึ่งปลุกเสกโดยพ่อท่านเอียดดำมีพุทธคุณในด้านแคล้วคลาดคงกระพันสุดยอดเรียกว่า เหนียวชนิดแมลงไม่ได้กินเลือดเลยทีเดียว

ผู้เขียนขอนำเรื่องราวประวัติของปรมาจารย์พ่อท่านเอียดดำมาเล่าสู่กันฟังโดยความอนุเคราะห์ของพ่อท่านชม วัดศาลาไพ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ช่วยค้นคว้าข้อมูลโดยย่อมาให้ ซึ่งปัจจุบันพ่อท่านชมก็นับเป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในนครศรีธรรมราช และมักจะ ได้รับนอมนต์ให้เข้าร่วมนั่งปลุกเสกวัตถุมงคลพิธีสำคัญแทบทุกครั้ง

พ่อท่านเอียดดำ ถือกำเนิดขึ้นใน ตระกูลบุญเรือนที่บ้านทับชัน หมู่ 6 ต.นาเคียน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่ห่างวัดศาลาไพ ประมาณ 5 กิโลเมตร ชื่อบิดามารดาและวันเดือนปีเกิดกำลังค้นคว้าอยู่ ท่านมีน้องสาวอีกหนึ่ง คนนามว่านาง เรือง บุญเรือง

ชีวิตในวัยเยาว์ ของเด็กชายเอียดก็แฉกเช่นเด็กทั่วไป คือ แก่นแก้วซุกซน แต่เด็กชายเอียดมีดีตรงที่เป็นเด็กใจบุญสุนทาน ไม่ชอบทำบาป ไม่ฆ่าสัตว์ในสมัยนั้น ทางบ้านของเด็กชายเอียดมีฐานะยากจน ดังนั้นบิดามารดาจึงนำเด็กชายเอียดไปฝากร่ำเรียนหนังสือกับหลวงตาที่นับถือรูปหนึ่งที่วัดพระคุต วิ่งงอยู่ใกล้บ้านเป็นเวลาหลายปีจวบจนได้บรรพชา เป็นสามเณรที่วัดยวนแหล่ และเมื่ออายุครบบวชก็ได้อุปสมบทที่วัดตะวันตก ได้รับฉายาว่า อริยวังโส

เมื่ออุปสมบทได้ระยะหนึ่งแล้วพระภิกษุเอียดก็ได้ปลีกวิเวกออกธุดงค์ไปตามป่าเขา ค่ำที่ไหนก็ปักกลดเจริญสมาธิที่นั่น รอนแรมฝ่าความยากลำบากอย่างไม่ย่อท้อผจญพบพานกับสัตว์ร้ายนานาก็ได้แต่สวดมนต์ แผ่เมตตาทำให้ปลอดภัยปราศจาก ภยันตรายมากล้ำกลาย

ท่านจาริกธุดงค์ ไปอย่างไร้จุดหมายจนกระทั่งไปถึงเขตป่าประเทศพม่า ตลอดระยะเวลาหลายปีในป่าเขาลำเนาไพรได้พบได้ศึกษาวิชาอาคมกับ พระภิกษุชราผู้เรืองเวทหลายท่าน จึงสั่งสมเพิ่มพูนความชำนาญในด้านไสยเวทขึ้นเรื่อย ๆ

หลังจากเดินทางกลับเข้าสู่เขต จ.นครศรีธรรมราช ก็ได้หยุดและจำพรรษาตามวัดต่าง ๆ หลายแห่งจนในที่สุดก็เดินทางมาถึงดินแดนถิ่นกำเนิด ชาวบ้านญาติพี่น้องก็ขอให้ท่านอยู่จำพรรษาที่วัดศาลาไพซึ่งในขณะนั้นมีพ่อท่านเพชร ซึ่งเรืองเวทวิทยาคมยิ่งเป็นเจ้าอาวาส อยู่ช่วยทำนุบำรุงพัฒนาวัดและในยามว่างก็ได้ร่ำเรียนวิชาอาคมจากพ่อท่านเพชรจนกระทั่งเจนจบครบถ้วนสรรพวิชาการ จนกระทั่งในปี 2470 พ่อท่านเพชรได้ถึงแก่มรณภาพดังนั้นชาวบ้านจึงได้ขอให้พระภิกษุเอียดขึ้นเป็นเจ้าอาวาสแทน

เนื่องจากขณะนั้นในละแวกใกล้เคียงมีเจ้าอาวาสชื่อเอียดอยู่สองรูป คือ พ่อท่านเอียดดำ วัดศาลาไพ และพ่อท่านเอียดดำ วัดโรงฆ้อง ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียดพ่อท่านเอียด วัดศาลาไพ ซึ่งมีสีผิวคล้ำดำกว่า ว่าพ่อท่านเอียดดำตั้งแต่นั้นมา

พ่อท่านเอียดดำได้นำความรู้ด้านไสยเวทที่ชำนาญการสงเคราะห์ญาติโยมจนชื่อเสียงกิติศัพท์โด่งดังไปกว้างไกล ดังนั้นในราวปี 2482 ชาวบ้านจึงขอให้ท่านสร้างวัตถุมงคลขึ้นบ้าง ซึ่งท่านได้สร้างเสือยันต์ผ้าประเจียดตะกรุดและเครื่องรางของขลังต่าง ๆ อีกทั้งมอบให้ นาย ไข่ คะงา ไปจัดทำเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ซึ่งสร้างจำนวนน้อยมาก วัตถุมงคลทั้งหมดพ่อท่านเอียดดำประกอบพีปลุกเสกเดี่ยวตามลำพัง ซึ่งในห้วงนั้นคุณตาขุนพันธ์ก็ได้ไปอยู่ช่วยเหลือตามกำลัง

เมื่อเสร็จพิธีกรรม ประจุพุทธาคมแล้ว พ่อท่านเอียดดำก็ได้แจกวัตถุมงคลให้แก่ผู้เลื่อมใสศรัทธา ซึ่งได้ปรากฏพุทธคุณ เป็นที่เลื่องลือ ความเก่งกล้าในวิชาคาถาอาคมของพ่อท่านเอียดดำเป็นที่กล่าวขานไปทั่วนครศรีธรรมราช แม้กระทั่งพระอาจารย์เขียวก็ยังดั้นด้นมาขอศึกษาวิชาอาคม ซึ่งในยุคถัดมาพ่อท่านเขียว วัดหรงบน ก็มีชื่อเสียวโด่งดังไปทั่วประเทศ

ครั้นในปี 2484 ได้เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพากองทัพทหารญี่ปุ่นได้ยกกำลังขึ้นที่บ้านท่าแพ นครศรีธรรมราช ทหารกล้าฝ่ายไทยก็ได้ยกกำลังเข้าต่อต้านและในห้วงระยะนี้ เองที่วัดศาลาไพจะเนืองแน่นไปด้วยเหล่าทหาร ซึ่งมาขอของดีคุ้มภัย พ่อท่านเอียดดำก็ได้มอบให้ทุกราย เป็นผ้ายันต์บ้าง ตะกรุดบ้าง ปรากฏว่าบรรดาเหล่าทหารกล้าที่มีของดีที่พ่อท่านเอียดดำติดกายอยู่รอดปลอดภัย บางรายโดนทหารญี่ปุ่นยิงจนล้มคะมำ แต่ก็ลุกขึ้นสู้ต่อเพราะอำนาจกระสุนไม่สามารถต้านอำนาจพุทธคุณได้ ดังนั้น ประโยคที่ว่า มีของดีพ่อท่านเอียดดำแมลงวันไม่ได้กินเลือดก็ดังกระหึ่มไปทั่วแดนใต้



เหรียญรุ่นแรกรุ่นเดียวที่ทันท่านปลุกเสก

ในยุคนั้นละแวกวัดศาลาไพนับเป็นถิ่นคนดุ จนเรียกกันเป็นดงเสือแดนสิงห์ แต่พ่อท่านเอียดดำก็ใช้เมตตาธรรมอบรม สอนสั่งจนกระทั่งทุกคนประพฤติตนเป็นคนดีถ้วนหน้า นอกจากจะเป็นเกจิผู้เรืองเวทแล้ว พ่อท่านเอียดดำยังเป็นนักพัฒนาจึงได้ทำนุบำรุงวัดศาลาไพจนรุ่งเรืองและยังได้ก่อสร้างโรงเรียนวัดศาลาไพในปี 2475

หลังจากที่ทำนุบำรุงวัดศาลาไพและก่อสร้างโรงเรียนแล้วเสร็จ พ่อท่านเอียดดำจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์อีกครั้ง จนได้พบว่า วัดในเขียวซึ่งขณะนั้นอยู่ในสภาพทรุดโทรม จึงได้จำพรรษาทำนุบำรุงวัดในเขียวอีกแห่ง ในระหว่างนั้นท่านได้ไป ๆ มา ๆ ระหว่างวัดศาลาไพและวัดในเขียวซึ่งเดินทางเท้าโดยเท้าเปล่า จนกระทั่งในปี 2486 เมื่อท่านพิจารณาเห็นว่าทางวัดศาลาไพได้เจริญรุ่งเรืองสมดังเจตนาแล้ว แต่ทางวัดในเขียวยังต้องพัฒนาอีกมาก จึงตัดสินย้ายมาอยู่วัดในเขียวเป็นการถาวร จนกระทั่งละสังขารที่วัดในเขียวในปี 2495 และทางวัดได้เก็บรักษาสังขารของท่านไว้จนถึงปี 2499 จึงได้ทำการฌาปนกิจ

บทความเรื่อง : พ่อท่านซังแห่งวัดวัวหลุง




พระครูอรรถธรรมรส (พ่อท่านซัง) อดีตเจ้าคณะแขวงอำเภอร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกท่านหนึ่งที่ได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนวิชาคาถาอาคมที่สำนักเข้าอ้อเช่นเดียวกับพระเกจิอาจารย์อีกหลายๆ ท่าน ตลอดระยะเวลาอุปสมบทในพรรษาต้นๆ นั้นท่านได้ออกธุดงค์เดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ รวมทั้งที่สำนักเขาอ้อแห่งนี้ด้วย

หลังจากได้กลับมาจากธุดงค์ได้เข้าอยู่จำพรรษาที่วัดวัวหลุงแห่งนี้ด้วยผลงานและความสามารถที่ท่านได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับวัดวัวหลุง จึงได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์จากพระครูซังอันเป็นพระครูฐานานุกรมขึ้นเป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรที่ 'พระครูอรรถธรรมรส' เมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2467 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวงอำเภอร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช

เหรียญหลวงพ่อพระครูอรรถธรรมรสแห่งวัดวัวหลุงนี้ เป็นเหรียญที่สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพของท่านเมื่อปี พ.ศ.2480 เนื่องจากหลวงพ่อซังได้ถึงแก่กาลมรณภาพเมื่อ 26 มีนาคม พ.ศ.2478 คณะศิษย์ได้ทำการเก็บศพของท่านไว้เป็นเวลาปีเศษจึงขอพระราชทานเพลิงศพ เหรียญนี้ถึงแม้ว่าจะสร้างออกมาตอนที่ท่านมรณภาพไปแล้วก็ตาม แต่ก็ได้ผ่านการปลุกเสกจากพระเกจิอาจารย์สายเขาอ้อ มีความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์มาก โดยเฉพาะด้านอยู่ยงคงกระพันที่มีประสบการณ์ปรากฎมาหลายครั้ง เป็นอีกเหรียญหนึ่งที่คนภาคใต้เสาะแสวงหากันมาก เป็นเหรียญที่หายากและมีค่านิยมสูงเหรียญหนึ่ง





วันนี้นำเสนอเหรียญตายที่ควรสะสมครับ
ซึ่งปกติเหรียญตายจะไม่ค่อยน่าสนใจเพราะครูบาอาจารย์ เจ้าของเหรียญได้จากไปแล้ว
แต่เหรียญนี้ ป็นเหรียญตายที่มีราคาสูงกว่าเหรียญพระเกจิอาจารย์ท่ านอื่นๆในจังหวัดแถบทางใต้ และเป็นเหรียญแพงอันดับหนึ่งของนครศรีธรรมราช

พระครูอรรถธรรมรส หรือ หลวงพ่อซัง วัดวัวหลุง เกิดวันอังคารที่ 6 มกราคม 2394 ณ บ้านตะพัง ควนตะพัง เมืองนครศรีธรรมราช บรรพชาเมื่ออายุได้ 16 ปี เป็นสามเณรในสำนักท่านพระอุปชฌาย์รักษ์ ได้ 1 พรรษาก็ลาสิกขา จนอายุ 20 ปีได้เข้าอุปสมบทในปี 2415 ณ พันธสีมา วัดคันธมาลี อำเภอร่อนพิฐุลย์ ได้รับฉายาว่า สุวัณโณ หลังจากอุปสมบทแล้วได้ย้ายไปอยูกับอาจารย์ เจ้ย วัดวัวหลุง
ท่านไม่เคยสร้างเหรียญหรือรูปถ่ายใดๆ มีก็แต่เครื่องรางของขลังประเภทตะกรุด ผ้ายันต์ ซึ่งก็มีจำนวนไม่มากนัก
ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูอรรถธรรมรสใน ปี 2467 และท่านได้มรณภาพด้วยอาการสงบในปี 2478 รวมสิริอายุ 84 ปี 63 พรรษา

หลวงปู่เขียว วัดหรงบน



วัดหรงบนสมัยท่านมีชีวิตอยู่คนไม่ค่อยจะรู้จัก เคยอ่านพบในหนังสือเล่มหนึ่งว่าตอนที่ท่านมาปลุกเสก ระกริ่งพุทธชัยศรีที่วัดกลางบางแก้วช่วงที่นั่งพักผ่อน ญาติโยมที่ไปร่วมงานไม่มีใครสนใจท่านเพราะไม่เป็นที่ รู้จัก แต่พระดังๆในสมัยนั้นคนรุมล้อมเพียบ คนที่เขียนบทความนั้นก็ไม่รู้จักท่านแต่ได้เข้าไปถาม ท่านว่ามาจากไหน ท่านบอกว่ามาจากวัดหรงบน ท่านได้มอบรูปหล่อให้ด้วย ตอนท่านอยู่ชื่อเสียงของท่านเป็นที่รู้จักในวงแคบ วัตถุมงคลของท่านมีประสบการณ์มากมายในพื้นที่ แต่ไม่มีการประชาสัมพันธ์ จนหลังจากท่านมรณภาพไปแล้วก็ยังไม่เป็นที่รู้จักมากน้ก

ท่านมาดังเอาจริงๆจังๆก็ตอนงานฌาปนกิจศพของท่าน หลังจากท่านมรณภาพแล้วศพของท่านไม่เน่าเปื่อย กลับแข็งเป็นหิน พอถึงวันฌาปนกิจ ศพของท่านเผาไฟไม่ไหม้ แม้แต่จีวรห่อศพก็ไม่ไหม้ เป็นที่อัศจรรย์ ทางวัดจึงเก็บสรีระของท่านเอาไว้ให้คนไปกราบไหว้ นอกจากสังขารของท่านจะไม่เน่าเปื่อยแล้ว เล็บและผมของท่านงอกยาวออกมาเรื่อยๆ ต้องได้ปลงทุกปี

วัตถุมงคลที่ท่านสร้างเอาไว้มีพระปิดตาเนื้อว่าน 2 พิมพ์ พิมพ์ท้องอุกับพิมพ์ตะพาบ พระปิดตาเนื้อตะกั่วพิมพ์ท้องอุวงการยอมรับไม่เต็มที ่ เป็นที่ถกเถียงกันว่ามีหรือมั่วมานานแล้ว เหรียญท่านมีรุ่นเดียว รูปหล่อมีพิมพ์เดียวแต่มีแบบรมดำกับกะหลั่ยทอง ผ้ายันต์รอยมือรอยเท้า เชือกคาดเอว ตะกรุด สำหรับเชือกคาดเอวและตะกรุดคงเล่นหากันไม่ได้เพราะไม ่มีอะไรให้ดูได้เลยว่าเป็นของท่าน

อมตะสังขาร พระเถราจารย์เจ้า
ธรรมดาสังขารของมนุษย์โดยทั่วไปเมื่อสิ้นชีพแล้วก็จะเน่าสลายไปตามธรรมชาติ
แต่ก็มีสังขารของผู้ปฎิบัติหลายท่านที่ดำรงอยู่เป็นอมตะสังขารให้เห็นเป็นอัศจรรย์มากมายเท่าที่ข้าพเจ้ารวบรวมได้ก็นับพันรูปแล้ว เช่น หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง หลวงปู่ครูบาชัยวงศ์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม หลวงปู่เกษม สุสานไตรรัตน์ พ่อท่านเกลื่อม วัดคงคาวดี และหลวงปู่ชื้น วัดญาณเสนเป็นต้น
ในบทความนี้ผู้เขียนจะบอกเล่าถึงอมตะสังขารของพระเถราจารย์รูปหนึ่งที่นอกจากจะไม่เน่าเปื่อยไปตามธรรมชาติแล้ว ยังปรากฏเป็นอัศจรรย์เหนืออัศจรรย์คือพระเพลิงไม่สามารถทำให้อมตะสังขารของท่านเสื่อมสลายไปได้ นับเป็นปาฏิหาริย์หนึ่งในแผ่นดิน พระเถราจารย์ที่กล่าวถึงก็คือ หลวงปู่เขียว อินทมุนี แห่งวัดหรงบน

ปาฏิหาริย์หนึ่งในแผ่นดิน

วันที่ 18 พฤษภาคม 2520 ตรงกับ วันพุธ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็งถูกกำหนด
เป็นวันฌาปนกิจศพของหลวงปู่เขียว เริ่มจากพิธีการทางสงฆ์ พระสวดมนต์พิธี
จากนั้นกรรมการก็จุดไฟจนลุกกระจายโชติช่วงท่วมสังขารของหลวงปู่เขียวอย่างชัดเจน (เป็นการเผาแบบพื้นเมืองสามารถมองเห็นได้ทั่วทุกมุม) เปลวพระเพลิงลุกไหม้อยู่นานกว่า 1 ชั่วโมง “สาธุชนที่หลั่งไหลมาร่วมงาน 2-3พันคนเริ่มสังเกตเห็นชัดเจนว่า สังขารของหลวงปู่เขียวไม่ไหม้ไฟ เมื่อเปลวเพลิงมอดลงสิ่งที่ปรากฏต่อสายตาของทุกผู้คนก็คือ ดอกไม้กระดาษที่ใส่พุ่มมือหลวงปู่เขียว สบง จีวรและสังขารของท่านยังคงอยู่ในสภาพเดิมราวกับคนที่นอนหลับสนิท”เป็นปรากฏการณ์ที่ผู้ร่วมในพิธีไม่อาจลืมเลือนได้เลย เป็นปาฏิหาริย์หนึ่งในแผ่นดินทีเดียวเหตุการณ์ในวันนั้นไม่ได้จบอยู่เพียงเท่านั้น

เนื่องจากมีชาวบ้านหลายรายเกิดความสงสัยว่าทำไมสังขารท่านไม่ไหม้ไฟ
ก็เอาไฟไปเผาที่ร่างกายท่านแต่ก็ไม่สามารถทำให้ไหม้ได้ ก็พูดกันต่อว่าร่างกายไม่ไหม้ จีวร สบงก็ต้องไหม้ ก็เอาไฟไปเผาสบง จีวรอีก เผาอยู่นานก็ไม่ไหม้ จนคนเหล่านั้นยอมแพ้กราบขอขมาท่าน(คนที่อยู่ในเหตุการณ์ และยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน พ.ศ. 2549 ก็ยังมีอีกจำนวนมากทีเดียว)ปัจจุบันอมตะสังขารของหลวงปู่เขียว ประดิษฐานอยู่ในโลงแก้ว ที่วัดหรงบน อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

หลวงปู่เขียว
รูป หลวงปู่เขียว วัดหรงบน จ.นครศรีธรรมราช


พล.ท. เกรียงพล พงษ์ชัยบุตร ศรัทธา ‘หลวงปู่เขียววัดหรงบน’


พล.ท. เกรียงพล พงษ์ชัยบุตร เป็นอีกหนึ่ง “นายทหาร” ที่ผ่านศึกรบมาแบบที่เรียกว่า “โชกโชน” อีกผู้หนึ่งเพราะขณะเริ่มรับราชการ ทหาร กินยศ “ร้อยตรี” หลังจบ โรงเรียนนายร้อยเตรียมทหารรุ่น 3 จปร. รุ่นที่ 14 ก็ถูกส่งไปทำศึกกับ “ผู้ก่อการร้าย” ที่ อ.เชียงตำ, เชียงของ, ห้วยทราย แถมด้วยใน ประเทศลาว ในฐานะ “ผู้บังคับหมวด”โดยทำการรบ ในแถบนั้นนานถึง 2 ปีจึงมีประสบการณ์ที่ ค่อนข้าง โชกโชน ซึ่งคราวหนึ่งได้รับบาดเจ็บถึงขั้นสาหัสเพราะถูกระเบิดของ “ผู้ก่อการร้าย” ที่กลางหลังอย่างจังทั้งที่แขวนพระเครื่อง ไว้ในคอหลายองค์ซึ่งล้วนแต่เป็น “พระ เครื่อง” ที่คุณพ่อให้มาทั้งนั้น ด้วยเหตุนี้ตั้งแต่นั้นมาก็เลยไม่ค่อยยึดมั่นกับ “พระเครื่องนัก” แต่ก็ยังแขวนไว้เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวตามประสาผู้ชายไทยเท่านั้น
กระทั่งปีพ.ศ.2520 หลังเรียนจบจาก โรงเรียนเสนาธิการทหาร ก็ถูกส่งไปประจำการรบที่ จ.นครศรีธรรมราช จึงได้อ่านประวัติของ “หลวงปู่เขียววัดหรงบน” ที่หนังสือพระเครื่องลงประวัติท่านไว้ซึ่งหลังอ่านแล้วก็มีความรู้สึกว่าพระรูปนี้มีอะไรแปลก ๆ ดี แต่ก็ยังไม่ได้ ศรัทธาอะไรมากนักเพราะท่านละสังขารตั้งแต่ปี 2519 ต่อมาเมื่อย้ายไปประจำการที่ จ.พัทลุง ในตำแหน่ง “รองผู้บังคับกองพัน” ที่ต้องไป ตั้งฐานในถิ่น ผู้ก่อการร้าย ซึ่งช่วงนั้นกำลังมีอิทธิพลในท้องถิ่นมากแต่ก็มีเวลาว่างได้ไปกราบสรีระ “หลวงปู่เขียว” ที่ วัดหรงบน ที่นอนสงบ อยู่ในโลงแก้วเพราะ “สรีระหลวงปู่ไม่เน่าเปื่อย”

จากนั้นก็นำ “ผ้าพันคอ” ที่ผูกคอประจำตัว เป็นเครื่องหมาย ประจำหน่วย ไว้ใต้เท้าสรีระที่ ไม่เน่าเปื่อยของ “หลวงปู่เขียว” กระทั่ง 6 เดือนจึงกลับไปเอา “ผ้าพันคอ” ก็พบเห็นสิ่งแปลก ๆ คือ ปรากฏมี “รอยมือและรอยเท้า” ของ หลวงปู่ประทับไว้บนผ้าพันคอ ถึงกระนั้นก็ไม่ได้คิด อะไรและไม่คิดว่าเป็นอภินิหารใด ๆ อีกด้วย โดยเข้าใจว่าคงมีศิษย์ในวัดนำไป ประทับ รอยมือรอยเท้าให้ และพอกลับเข้าค่ายก็มีความคิดอยากนำผ้าพันคอผืนนี้ไป ทดลองยิง เพื่อพิสูจน์ว่าศักดิ์สิทธิ์ตามที่มีคนร่ำลือกันแต่ก็มีผู้ใต้บังคับบัญชา มา รายงานว่า “พระอาจารย์ทองวัดนาม่วง” ที่ พล.ท.เกรียงพล ให้ความนับถือฝากมาเตือนว่า อย่านำไปทดลองยิง เพราะผ้าผืนนี้ ศักดิ์สิทธิ ิ์มากหากนำไปทดลองยิงจะทำให้ มีอันเป็นไป

สร้างความแปลกใจให้ พล.ท.เกรียงพล มากแต่ก็ไม่เลิกล้มการทดลองยิงโดยวันรุ่งขึ้น เดินทางไป ที่วัดหรงบนอีกครั้งพร้อมกับตรงดิ่งไปพูดเชิงท้าทายที่หน้าโลงศพหลวงปู่เขียวว่า “ถ้าไม่ให้ลองยิงแล้วก็ไม่รู้ว่าผ้าจะ ศักดิ์สิทธิ์แค่ไหน ฉะนั้นคืนนี้ขอให้หลวงปู่มาเข้าฝัน” โดยตั้งแง่ว่าถ้าจะมาเข้าฝันต้องให้เป็นคืนนี้เลยจะได้รู้ว่าหลวงปู่ศักดิ์สิทธิ์จริง

ตกดึกคืนนั้นขณะหลับสนิท พล.ท.เกรียงพล ก็ฝันเห็นหลวงปู่เขียวมายืนอยู่ข้างเตียงพร้อมถามว่า “กูมาแล้วมึ-งจะเอายังไง” พล.ท.เกรียงพลจึงยกมือไหว้พร้อมตอบหลวงปู่ว่าเชื่อแล้วศักดิ์สิทธิ์จริง ตั้งแต่นั้นมาจึงแวะเวียนไปกราบสรีระท่านในโลงแก้ว เป็นประจำ พร้อมหา “วัตถุมงคล” ที่ท่านสร้างไว้ทั้ง “พระปิดตาเนื้อว่านพิมพ์


ตะพาบ” พร้อม “ฟันหลวงปู่” ที่ถอนออกขณะยังมีชีวิต โดยมีคนร ู้จักนำมาให้แถมด้วย “ก้างปลา” ที่หลวงปู่คายทิ้งไว้แต่กลับมีลักษณะเหมือน “เศียรฤาษี” ที่ลูกศิษย์หลวงปู่เก็บไว้มาแขวน ประจำตัว ส่วนอีกประสบการณ์ที่ได้พบแบบแทบ “เข้าตาจน” เมื่อครั้งเข้ารับพระราชทาน วุฒิบัตรติดยศ “นายพล” จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ที่สวนอัมพรซึ่งอักษรชื่อของ พล.ท. เกรียงพล คือ “ก.ไก่” จึงได้ยืนอยู่แถวหน้าสุดซึ่งขณะยืนเข้าแถวเพื่อนนายทหาร ผู้หนึ่ง ได้เอ่ยบอก พล.ท. เกรียงพล ว่า “เกรียงพลคุณไม่ได้ติดช่อชัยพฤกษ์นี่” เท่านั้นเอง พล.ท. เกรียงพล แทบจะเป็นลมเพราะนั่นก็คือการ แต่งตัวไม่เรียบร้อย ของนายทหารจะต้องถูกคัดชื่อออกหมดสิทธิรับพระราชทานยศในวันนั้นทันที พล.ท. เกรียงพล รีบแก้ไขสถานการณ์ ด้วยการเดินไปขอยืมเพื่อนที่ท้ายแถว เพราะต้องติดยศก่อนแต่ก็ไม่มีใครให้ยืมเลยเนื่องจากจวนถึงเวลาเสด็จฯแล้ว

ที่สุดก็ได้แต่อธิษฐาน ถึง “หลวงปู่เขียว” ขอให้ท่านช่วยแล้วกลับมายืนบ่นอย่างกระวนกระวายให้ พ.อ.กสิเดช ที่เพิ่งมายืนอยู่ข้าง ๆ ฟังซึ่งพอได้ยิน พ.อ.กสิเดช ก็ล้วงเอา “ช่อชัยพฤกษ์” ในกระเป๋าเสื้อออกมาส่งให้ในลักษณะเหมือนมี “พระมาโปรด” พล.ท.เกรียงพลรีบรับช่อชัยพฤกษ์มาติดที่คอเสื้อ ชุดขาวขณะที่เสียงแตรดังขึ้นเพราะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ แล้วซึ่งเป็นเรื่องที่หากไม่เกิดขึ้นกับตัวเอง พล.ท. เกรียงพล ก็ยากที่จะเชื่อจึงนำมาเล่าสู่กันฟังแบบหาก “ใครไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่” เพราะเรื่องทำนองนี้มีบ่อยมากในแผ่นดินไทย.


หนังสือพิมพิ์เดลินิวส์/ภวันตุเม..

วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2551

นมัสการหลวงพ่อผุด วัดนันทาราม พระคู่บ้านคู่เมือ






วัดนันทารามเดิมชื่อวัดใต้

เป็นวัดที่ประดิษฐานหลวงพ่อผุด พระพุทธรูปหินทรายแดง ศิลปสมัยกรุงศรีอยุธยาภายในวัดยังได้เก็บรักษาศิวลึงค์องค์ใหญ่องค์หนึ่งพบที่โบราณสถาน เขาคา อายุประมาณ 1,200 ปี ในราวศตวรรษที่ 12-14 สลักจากหินปูนและสมบูรณ์ที่สุด เท่าที่พบในภาคใต้ วัดนันทารามตั้งอยู่ที่ถนนชายน้ำ ปากพนังฝั่งตะวันออก



สุดยอดเหรียญครับที่พ่อหลวงของแผ่นดินเสด็จไปนมัสการ และสมเด็จพระสังฆราชไปกราบ หลวงพ่อผุด เป็นพระพุทธรูปหินทรายแดง ศิลปสมัยกรุงศรีอยุธยา ...จมดินทรายอยู่ในวัด ...

((หลวงพ่อพระผุด )))



(((ท่านได้แสดงปฏิหาริย์... ผุดขึ้นจากปฐพีใต้ต้นทองหลางทั้งองค์.. )))ท่ามกลางพายุฝนฟ้าคะนอง...
เมื่อ...คืนวันจันทร์ แรม๑๓ค่ำ เดือน๘ ปีมะเมีย เมื่อ พศ.๒๔๐๔


เหรียญพระผุด วัดนันทาราม รุ่นแรก สร้างเมื่อปี ๒๔๙๑
สร้างโดย พระครูนนท์ เจ้าอาวาสวัด

เหรียญพระผุด วัดนันทาราม รุ่นสอง สร้างเมื่อปี ๒๕๑๔
สร้างโดย หลวงปู่เขียว หลงบน

เหรียญพระผุด วัดนันทาราม รุ่นสาม สร้างเมื่อปลายปี ๒๕๑๘
สร้างโดย
เหรียญพระผุด วัดนันทาราม รุ่นสี่ สร้างเมื่อปลายปี ๒๕๒๑

โดยเกจิดังนี้
พ่อท่านนุ่ม วัดคงคาสวัสดิ์
พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง
พ่อท่านล่อง วัดสุขุม
พ่อท่านสังข์ วัดดอนตรอ
พ่อท่านจับ วัดท่าลิพง
พ่อท่านแก่น วัดทุ่งหล่อ
พ่อท่านจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ
พ่อท่านสังข์ วัดเทพมงคล
พ่อท่านนำ วัดกลาง
พ่อท่านรอด วัดประดู่
พ่อท่านบุญรักษ์ วัดเสาเภา
พ่อท่านขำ วัดหงษ์แก้ว
พ่อท่านเกลื่อม วัดคงคาวดี
ร่วมพิธีพุทธาภิเษก


เหรียญพระผุด วัดนันทาราม รุ่นห้า สร้างเมื่อปี ๒๕๒๑



"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

พระคู่บ้านเมืองของชาวร่อนพิบูลย์


ประวัติและปาฏิหาริย์พระแม่เศรษฐี



วัดร่อนนา หมู่ 2 ตำบลร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
วัดร่อนนาเป็นวัดโบราณอีกวัดหนึ่งในยุคกรุงศรีอยุธยาเพราะยังคงเหลือสิ่งปลักหักพังปัจจุบัน ประมาณว่า วัดร่อนนาเคยเป็นวัดเจริญรุ่งเรืองมาแล้วในอดีตด้วยหลักฐานพอที่จะยืนยัน ได้ก็คือ พระพุทธรูปอุ้มบาตร เป็นพระที่จัดได้ว่าสวยงามมาก ซึ่งพระพุทธรูปปางพระร่วงองค์เป็นที่สักการบูชากราบไหว้ของชาวร่อนพิบูลย์และชาวนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปปางพระร่วงอุ้มบาตรจากประวัติที่เล่าสืบต่อกันมาของพระแม่เศรษฐีวัดร่อนนาพระคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอร่อนพิบูลย์ นับย้อนรอยไป 700-800 ปีมาแล้วเป็นยุคการเผยแพร่ของพระพุทธศาสนาและมหาสงครามของประเทศเพื่อนบ้าน และยุคมหาสงครามไทยสยามใต้กับพวกชวากะ (สลัดชวา) โจรแขกที่บุกเข้าโจมตีจับเอาทรัพย์สินและชาวเมืองไปเป็นเชลยต่างผลัดกับรบชนะและแพ้สลับกันไปราษฎรต้องพากันอพยพหลบหนีภัยสงครามที่ยกโจมตีบรรดาเมืองต่าง ๆ แตกพร้อมกับต้อนชาวเมืองเป็นเชลยศึก

ส่วนที่พากันหลบหนีเข้าไปในป่าพากันส้องสุมรวมตัวต่อสู้ศัตรูในการดักซุ้มโจรตีทำลายข้าศึกบ้างก็พาลูกเมียข้าทาสบริวารหลบหนีภัยสงครามไปตั้งรากฐานแปลงบ้านสร้างเมืองอยู่บนภูเขาร่อนนา (หรือในพื้นที่กรุงมาศ) ปัจจุบันเป็นที่กั้นน้ำทำนบสองของเมืองแร่หนองเป็ดซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ในปัจจุบัน เมื่อท่านเศรษฐีกรุงมาสได้สร้างบ้านเรือนขึ้นมาก็ได้มีชาวบ้านที่หนีภัยสงครามล้างเผ่าพันธุ์ในครั้งนั้นมาตั้งบ้านเรือนจนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น ครั้นหลายปีต่อมาท่านเศรษฐีแห่งหมู่บ้านกรุงมาสก็ได้ทายาทบุตรีคนหนึ่งจากภรรยาคนหนึ่งและเมื่อกุมารีเจริญวัยเติบโตขึ้นก็มีผิวพรรณนั้นเหมือนทองคำท่านเศรษฐีกรุงมาสผู้เป็นบิดาและมารดาตลอดจนข้าทาสบริวารต่างรักใคร่


ท่านเศรษฐีกรุงมาสผู้เป็นพ่อและแม่ต่าง ทะนุถนอมเลี้ยงดูบุตรีดังแก้วตาดวงใจจนกุมารีเจริญวัยได้ 16 ปีวันหนึ่งได้ชวนพี่เลี้ยงไปเล่นน้ำที่โตน (คือฐานน้ำตกบนภูเขา) และในขณะที่บุตรีท่านเศรษฐีกรุงมาสกับพี่เลี้ยงเล่นน้ำกันอย่างสนุกสนานก็ได้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเมื่อบุตรีท่านเศรษฐีกรุงมาสกับพี่เลี่ยงได้ลื่นหลักตกลงจากหน้าผาน้ำตก ปรากฏว่าสาวเจ้าทั้งสองหายสาบสูญไปกับกระแสน้ำอันเชี่ยวกราดและเมื่อถึงเวลาตะวันใกล้ค่ำท่านเศรษฐีกรุงมาสผู้เป็นพ่อพร้อมภรรยาไม่เห็นหน้าบุตรีและพี่เลี้ยงบังเกิดความเป็นห่วงและสังหรณ์ใจเลยนำบ่าวไพร่ออกติดตามค้นหาและพบเสื้อผ้าเครื่องประดับแต่งกายของบุตรและพี่เลี้ยงกองอยู่บริเวณนั้น


ท่านเศรษฐีกรุงมาสผู้เป็นพ่อและภรรยาต่างโศกเศร้าเสียใจและสลดไปในการจากไปของบุตรสาวเป็นอย่างมากและคิดว่าศพของบุตรสาวและพี่เลี้ยงคงถูกกระแสน้ำพัดจนอยู่ในโตน (วังน้ำตก) นี้เป็นแน่ท่านเศรษฐีกรุงมาสจึงตั้งรางวัลด้วยทองคำแท่งหลายร้อยชั่งใครก็ตามสามารถงมศพของบุตรสาวและศพพี่เลี้ยงเจอจะมอบทองคำแท่งให้เป็นรางวัลซึ่งมีชาวบ้านและข้าทาสบริวารต่างพากันงมศพค้นหาจนแทบพลิกแผ่นดินก็ไม่มีใครพบศพบุตรสาวของท่านเศรษฐีและพี่เลี้ยงเลยยังมีความโศกเศร้าเสียใจแก่ท่านเศรษฐีกรุงมาสผู้เป็นพ่อและผู้เป็นแม่ตลอดจนข้าทาสบริวารยิ่งนักท่านเศรษฐีกรุงมาศผู้เป็นพ่อจึงคิดปั้นรูปต่างตัวของบุตรสาวและพี่เลี้ยง จึงได้ประกาศให้บรรดาผู้ที่มีความสามารถปั้นรูปเหมือนของบุตรีและพี่เลี้ยง


แต่ปรากฏว่าบรรดาช่างจากสถานที่ต่าง ๆ ทราบข่าวต่างพากันเดินทางสมัครปั้นรูปเหมือนบุตรี จะปั้นให้เหมือนรูปบุตรีและพี่เลี้ยงได้ คือปั้นแล้วปรากฏไม่เหมือนกันเลยเพราะช่างเหล่านั้นขาดความชำนานทางศิลป์เลยพากันปั้นไม่ได้เรื่องได้ราวเรื่องของเรื่องเลยถึงองค์อัมรินทร์จอมเทพสรวงสรรค์ (พระอินทร์) ทรงตรัสเรียกพระวิษณุกรรมและได้มอบหมายหน้าที่ในการสร้างพระรูปเหมือนในการปั้นรูปเหมือนบุตรีและพี่เลี้ยงตามเจตนารมณ์ของท่านเศรษฐีกรงมาสได้ทำการอธิษฐานมา ซึ่งพระวิษณุกรรมเมื่อรับบัญชาจากพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่แห่งสรวงสวรรค์แล้วได้แปลงกายเป็นพราหมณ์เฒ่าเข้าไปรับอาสาท่านเศรษฐีกรงมาสสร้างรูปเหมือนบุตรสาวและพี่เลี้ยงให้โดยพราหมณ์เฒ่าได้ทำเบ้าหล่อรูปเหมือนแล้วเคี่ยวหลอมละลายทรัพย์สินเหล่านั้นเทลงในเบ้าและเมื่อแกะเบ้าออกมาปรากฏว่าเป็นพระพุทธรูปสวยงามมากเป็นที่สบอารมณ์ชื่นชนของท่านเศรษฐีกรงมาสผู้เป็นพ่อมาตลอดจนข้าทาสบริวารเป็นยิ่งนักที่รูปหล่อของบุตรีซึ่งดูเหมือนมีชีวิตจริง ๆ

ฝ่ายพราหมณ์เฒ่าเมื่อหล่อรูปเหมือนบุตรีและพี่เลี้ยงเสร็จและก็หายตัวไปเฉย ๆ ฝ่ายท่านเศรษฐีกรงมาสกับภรรยาเมื่อหล่อรูปเหมือนบุตรสาวกับพี่เลี้ยงคล้ายทองคำสวยไม่มีที่ติแล้วท่านเศรษฐีกรุงมาสผู้เป็นบิดากับภรรยาผู้เป็นมารดาได้นำพระพุทธองค์นั้นไปที่วังน้ำโตนที่บุตรีกับพี่เลี้ยงเสียชีวิตพร้อมกับพากันอธิษฐานว่าถ้าหากว่าบุตรสาวที่เสียชีวิตพร้อมกับพี่เลี้ยงได้ไปเกิด (จุติ) ที่แห่งหนตำบลใดก็ขอพระพุทธรูปองค์นี้ได้ไปอยู่ที่นั้นแล้วท่านเศรษฐีกรุงมาสกับภรรยาได้ทิ้งพระพุทธรูปทั้งองค์ลงในวังน้ำตกโตนแห่งนั้นและต่อมาปรากฏว่าพระพุทธรูปองค์นั้นได้มาผุดที่วัดคีรีวงศ์


(หนองตะเคียง)วัดร่อนนาปัจจุบันจนกระทั่งได้มีเด็กเลี้ยงควายได้นำควายไปเลี้ยงและเอาเชือกไปล่ามไว้กับเกศของพระพุทธรูปซึ่งเข้าใจว่าเป็นตอไม้และตกกลางคืนเด็กคนนั้นเกิดเจ็บท้องและได้ฝันว่าที่ตนเอาเชือกไปล่ามควายนั้นไม่ใช่ตอไม้แต่เป็นเกศของพระจึงได้เล่าเหตุการณ์ที่ตนฝันพร้อมกับปวดท้องให้พ่อแม่ฟัง รุ่งเช้าพ่อแม่พร้อมด้วยชาวบ้านในหมู่บ้านนั้นได้พาไปสู่ทุ่งร้างที่เด็กเลี้ยงควายนำเชือกควายไปผูกกับเกศพระ ซึ่งพ่อแม่เด็กและชาวบ้านพากันขุดพบเกศพระและลึกลงไปพบองค์พระแต่ไม่สามารถขุดเอาพระพุทธรูปขึ้นมาได้และจู่ ๆ ที่ชาวบ้านที่กำลังขุดพระพุทธรูปอยู่นั้นเด็กเลี้ยงควายก็สั่นขึ้นพร้อมกับมีเสียงพูดเป็นเสียงผู้ใหญ่ว่าถ้าต้องการนิมนต์พระพุทธรูปขึ้นไปประดิษฐานไว้เป็นที่สักการบูชานั้น ให้จัดพิธีพราหมณ์

ทำพิธีกรรมอัญเชิญพระสงฆ์สวดเจริญพุทธมนต์โดยชาวบ้านได้ช่วยกันจับด้าย 7 สี ดึงเบา ๆ พระพุทธรูปองค์นั้นก็เคลื่อนขึ้นมาจากพื้นดินอย่างอัศจรรย์ท่านกลางพระสงฆ์สวดพุทธมนต์ กล่าวว่านับเป็นเหตุมหัศจรรย์ท้องฟ้าเดือน 5 เปลวแดดร้อนจ้า กลับปรากฏการณ์ที่พื้นดินแห้งแล้งมาช่อง 2 เดือน ท้องฟ้ามืดครึ้มลงแล้วฝนตกลงมา เมื่อองค์พระพ้นพื้นดินฝนได้ชำระล้างดินที่องค์พระพุทธรูปจนสะอาดแล้ว จึงหยุดแสงแดดจ้าอันเป็นน่านมหัศจรรย์ยิ่งนัก ชาวบ้านได้พากันปิดทองกราบไหว้ และพราหมณ์ได้ทำพิธีอัญเชิญนิมนต์พระแม่เศรษฐีตามร่างทรงได้บอกเล่าความเป็นมาของพระพุทธรูปองค์นี้ในพิธีซึ่งพระแม่เศรษฐีท่านได้รับนิมนต์ชาวบ้านที่นิมนต์ท่านให้มาเป็นที่พึ่งของชาวบ้าน ณ วัดร่อนนาตลอดจนกระทั่งทุกวันนี้ พระแม่เศรษฐีวัดร่อนนาจึงเป็นพระที่พึ่งของชาวอำเภอร่อนพิบูลย์และชาวนครศรีธรรมราชตลอดมา

แต่ละวันจะมีประชากรทั้งใกล้และไกลเดินทางมากราบไหว้บนบานต่อพระแม่เศรษฐีซึ่งจะสำเร็จไปทุกวันเมื่อประสบความสำเร็จที่บนบานเอาไว้ ชาวบ้านผู้ที่บนบานจะนำดอกไม้ธูปเทียนปิดทองคำเปลวและจุดลูกประทัดแก้บนจนเสียงดังกระนั่นจนเป็นกิจประจำวันไปเสียแล้วด้วยพระแม่เศรษฐีวัดร่อนนาท่านเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองเป็นพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์เมื่อมีงานประเพณีที่เล่ามาก็พอได้ประวัติย่อ ๆ ของท่านพอสังเขป ส่วนอภินิหารของท่านนั้นชาวร่อนพิบูลย์รู้ดีครับ

แจงเป็นธรรมทานโดย คุณแม่สวาท อภิวันท์งบกช (ยายตา)

“พระลาก” โบราณสมัยอยุธยาอายุกว่า 300 ปี


นครศรีธรรมราช - ชาวเมืองพระ ได้คืนปาฏิหาริย์ “พระลาก” โบราณสมัยอยุธยาอายุกว่า 300 ปี

หลังหายสาบสูญกว่า 10 ปี สังฆการีวัดฝันถูกทิ้งริมถนนข้ามจังหวัดและขับรถตามเจอของจริงถูกมือมืดห่อจีวรยกพากลับวัด ชาวบ้านเตรียมฉลองรับ 7 วัน 7 คืน พร้อมแฉอดีตเจ้าอาวาส ชาวบ้านเชื่อมีเอี่ยวพระหายกระโดดกุฏิตายลึกลับ

วันนี้ (25 ต.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวบ้าน ม.3 บ้านโคกทึง ต.ท่างิ้ว อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ว่าได้มีการติดตาม “พระลาก” ซึ่งเป็นพระโบราณคู่บ้านคู่เมืองตั้งแต่สมัยอยุธยาที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดโรงฆ้อง ม.3 ต.ท่างิ้ว อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งถูกคนร้ายโจรกรรมไปเมื่อปี 2536 จนถึงปัจจุบันรวม 14 ปี ได้ถูกตามจนเจอและได้นำกลับคืนมายังวัดอย่างปาฏิหารณ์

หลังจากที่เดินทางตรวจสอบพบว่าภายในวัดดังกล่าวมีชาวบ้านหลายร้อยคนมาร่วมกันฉลองโดยการตั้งขบวนกลองยาว และต่างก็รำกลองยาวกันอย่างสนุกสนานโดยมีพระพุทธรูปซึ่งชาวบ้านเรียกว่า พระลากองค์ดังกล่าว ซึ่งมีความสูงราว 1.50 เมตรปางอุ้มบาตร เนื้อทองสัมฤทธิ์ศิลปะสมัยอยุธยาตอนซึ่งมีการประมาณการว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 300-400 ปี ได้ถูกนำขึ้นประดิษฐานบนรถยนต์กระบะเตรียมที่จะตั้งขวนแห่ไปทั้งตำบลเพื่อให้ชาวบ้านได้ทราบข่าวและร่วมกันสักการะกันอย่างทั่วถึง

ด.ต.ชัยยุทธ ชำนาญคำ อายุ 58 ปี อดีต ตชด.มีหน้าที่เป็นสังฆการีของวัดโรงฆ้อง ซึ่งเป็นผู้ติดตามจนพบพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว เปิดเผย ด้วยท่าทีที่ตื่นเต้นอย่างเห็นได้ชัดว่าที่สามารถตามพระองค์นี้จนเจอนั้นเพราะความฝัน สืบเนื่องจากเมื่อคืนวันที่ 21 ต.ค.2549 พระลากองค์นี้ได้มาเข้าฝันตนเอง บอกว่าที่ตนได้เข้ามาบูรณะวัดนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง มีสิ่งสาธารณะประโยชน์เกิดขึ้น แต่สิ่งที่ขาดคือพระลากของวัดที่หายไป

“ในฝันบอกว่าพระลากองค์นี้ได้ถูกนำมาทิ้งไว้ข้างถนน พ่อท่านร้อนอยู่ 2-3 วันแล้วให้ไปรับกลับมาด้วย หลังจากนั้นก็ทราบว่าจุดนั้นอยู่บนถนนสายพระแสง-เคียนซา อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี จะอยู่ทางซ้ายมือ หลังจากคิดว่าจะเป็นความจริงหรือไม่จริงจนกระทั่งวันที่ 24 ต.ค.ที่ผ่านมาจึงตัดสินใจเดินทางไปกับนายราย ชำนาญดำ ผู้ใหญ่บ้าน ม.3 ต.ท่างิ้ว ซึ่งเป็นน้องชาย เมื่อเดินทางไปถึงก็พบว่ามีห่อจีวรอยู่ข้างทาง จึงลงไปแกะห่อนั้นดูก็พบว่ามีพระองค์นี้อยู่ข้างในจริงๆ

ถึงกับขนลุกและพูดอะไรไม่ถูก หลังจากนั้นพยายามที่จะยกขึ้นรถ แต่ยกไม่ไหวจึงอธิษฐานนิมนต์กลับวัด และไปตามชาวบ้านที่อยู่ห่างจากจุดนั้นประมาณ 300 เมตรมาช่วยยกจนนำขึ้นรถและนำกลับมายังวัดได้สำเร็จเมื่อช่วงค่ำของวันที่ 24 ต.ค.ที่ผ่านมา และได้หารือกันเตรียมที่จะสมโภชน์กัน 7 วัน 7 คืน”

ด.ต.ชัยยุทธ ชำนาญคำ ยังเล่าถึงการหายไปของพระลากองค์ดังกล่าวเมื่อหลายปีก่อนว่า วันที่พระหายไปนั้นไม่ชัดเจนว่าเป็นวันที่เท่าไหร่ แต่ที่ชาวบ้านได้รู้กันคือในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ปี 2536 ซึ่งมีพระอธิการศิริ ปัญญาศิริ เป็นเจ้าอาวาส และในวันนั้นจะเป็นประเพณีชักพระประจำปีเช่นทุกปี ก็มีผู้ใหญ่สด ผู้ใหญ่บ้าน ม.3 ต.ท่างิ้ว พาชาวบ้านมาหาเจ้าอาวาสในขณะนั้น ว่าจะเอาพระมาประดิษฐานบนเรือพนมพระลากกันเช่นทุกปี

แต่พระอธิการศิริ บอกว่า “ทำไมต้องลากกันทุกปี พักผ่อนกันบ้าง” แต่ชาวบ้านและผู้ใหญ่บ้านก็ไม่ยอมจะต้องนิมนต์มาประดิษฐานบนเรือพนมพระให้ได้เพราะเป็นประเพณีเช่นทุกปี หลังจากนั้น พระอธิการศิริได้โยนกุญแจกุฏิให้และบอกว่า “เอาไปจะลากก็ลาก” แต่เมื่อชาวบ้านหยิบกุญแจจึงได้รับคำตอบว่า “ไม่ต้องไขกุญแจพระไม่อยู่แล้วไปกรุงเทพนานแล้วให้เขาไปนานแล้ว ”

“ผมเชื่อว่าอดีตเจ้าอาวาสรู้ว่าพระองค์นี้หายไปไหนอย่างไร หลังจากนั้นก็มีการแจ้งความโดยนายสำราญ จุลนวล เป็นคนแจ้งหายแต่ก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นใครโจรกรรม แต่สิ่งที่ชาวบ้านเห็นเป็นประจักษ์คือหลังจากนั้นพระอธิการศิริได้ล้มป่วยกระเสาะกระแสะอยู่ร่วม 3 ปี และอยู่มาวันหนึ่งก็ตะโกนบอกว่ามีเครื่องบินมารับ และกระโดดชั้นสองของกุฏิถึงแก่มรณภาพ ผมเองก็พาศพมาบำเพ็ญกุศลในวัดแห่งนี้” ด.ต.ชัยยุทธกล่าว

ขณะที่พระอธิการชม ปิยวัณโณ เจ้าอาวาสวัดศาลาไพ ในฐานะรักษาการเจ้าอาวาสวัดโรงฆ้อง อายุ 70 ปี เปิดเผยว่า สมัยยังเป็นเด็กนั้นมีพระอาจารย์เอียดขาว เป็นเจ้าอาวาสมีพระลากองค์นี้ประดิษฐานอยู่ในวัดอยู่แล้ว ซึ่งครั้งหนึ่งพระอาจารย์เอียดขาวเคยบอกว่าสมัยของพระอาจารย์ทับ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระอาจารย์เอียดขาวนั้นก็มีพระองค์นี้อยู่แล้วช่วงนี้นับย้อนหลังไปราว 200 ปี และเมื่อดูศิลปะนั้นเข้าใจว่าเป็นศิลปะสมัยอยุธยา มีอายุราว 300-400 ปี อย่างแน่นอน นับว่าเป็นพระลากที่ชาวบ้านเคารพนับถือในความศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระโบราณคู่บ้านคู่เมืองก็ว่าได้และการได้คืนกลับมานั้นถือว่าเป็นปาฏิหาริย์หาคำอธิบายไม่ได้

อย่างไรก็ตาม คนเฒ่าคนแก่ในละแวกวัดที่เข้ามาร่วมกันฉลองการได้กลับมาของพระลากต่างก็วิพากษ์วิจารณ์เป็นเสียงเดียวกันว่า ผู้ที่ครอบครองพระลากหลังจากที่หายไปจากวัดอาจจะพบกับสิ่งลี้ลับบางอย่างที่ไม่สามารถครอบครองพระลากองค์นี้ได้อีกต่อไป จึงนำมาทิ้งไว้ริมถนนเพื่อให้คนมาพบก็เป็นได้ แต่เป็นที่น่าแปลกใจที่ถูกทิ้งไว้ริมถนนกลับไม่มีใครพบเห็น จนมีคนเดินทางไปจากนครศรีธรรมราช ไปพบถึง จ.สุราษฎร์ธานี ได้อย่างเหลือเชื่อ

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร




วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของ ภาคใต้และประเทศไทย ตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช

ตามตำนานกล่าวว่า พระบรมสารีริกธาตุเสด็จมาสู่หาดทรายแก้ว โดยนางเหมชาลาฒ และพระธนกุมาร เมื่อประมาณปี พ.ศ.๘๓๔ จึงได้สร้างพระบรมธาตุ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ผู้ปกครองเมืองนครศรีธรรมราช จะก่อสร้างตกแต่งเพิ่มเติมอยู่เสมอ เพื่อสร้างสมความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อองค์พระบรมธาตุเช่น สมัยศรีวิชัยได้สร้างเป็นเจดีย์ทรงศรีวิชัย ต่อมาในรัชสมัยพระเจ้าจันทรภาณุ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๗๙๐ ได้ทรงสร้างเป็นเจดีย์ทรงลังกาครอบองค์เจดีย์เดิมแบบศรีวิชัยไว้ภายใน



พระบรมธาตุเจดีย์ ประดิษฐานอยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นปูชนียสถานอันเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงสุดของชาวนครศรีธรรมราช และชาวใต้ทั้งปวง ไม่ปรากฎหลักฐานที่แน่นอนเกี่ยวกับประวัติการสร้างตามตำนานกล่าวว่า พระเจดีย์องค์เดิมสร้างตามความเชื่อของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๓๐๐ สมัยอาณาจักรตามพรลิงค์ ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัย ต่อมาเมื่อได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับพระภิกษุลังกา

โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช ได้นิมนต์พระภิกษุลังกามาตั้งคณะสงฆ์ในเมืองนครศรีธรรมราชเป็นการสถาปนาพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในระยะนั้นพระบรมธาตุองค์เดิมชำรุดทรุดโทรมมาก พระภิกษุลังกาจึงได้ช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์ให้เป็นสถาปัตยกรรมแบบลังกา โดยสร้างพระสถูปแบบลังกาครอบองค์พระเจดีย์เดิม เป็นพระสถูปทรงโอคว่ำปากระฆังติดกับพื้นกำแพงแก้ว ที่มุมกำแพงแก้วมีพระบรมธาตุจำลองประดิษฐานอยู่ทั้งสี่มุม

พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองนครศรีธรรมราช ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๗๙๓ พระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช ได้ยกกองทัพเรือไปตีเมืองลังกาครั้งที่ ๑ ได้พระพุทธสิหิงค์มา จึงได้ฉลองสมโภชรวมกับพระบรมธาตุเจดีย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๗๙๓ โดยมีนางพญาเลือดขาวนำเสด็จแทนพระเจ้าจันทรภาณุจากลังกา

พระพุทธสิหิงค์ มีลักษณะทางศิลปกรรมอยู่ในตระกูลช่างแบบนครศรีธรรมราชที่เรียกกันว่า แบบขนมต้ม ประดิษฐานอยู่ในหอพระพุทธสิหิงค์ ในบริเวณวังเจ้านครเก่า ปัจจุบันเป็นศาลากลางจังหวัด เปิดให้ประชาชนได้เข้าไปสักการะบูชาในเวลาราชการทุกวัน

ในวันสงกรานต์ ชาวนครศรีธรรมราชจะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์แห่ไปยังสนามหน้าเมือง เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำ เพื่อความเป็นสิริมงคลเป็นประจำทุกปี

วัดสวนป่า



@ โบราณสถานโบราณวัสถุ

วัดสวนป่า

อยู่ใกล้สามแยกหอนาฬิกา ภายในโบสถ์มีจิตรกรรมแบบตะวันตกงดงามมาก เป็นผลงานของ แนบ ทิชินพงศ์ ผู้มีผลงานดีเด่นด้านศิลปของนครศรีธรรมราชวัดสวนป่าน ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เป็นวัดธรรมยุต สร้างเมื่อปี พ.ศ.2442 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2525เดิมวัดสวนป่านเป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่ง ตั้งอยู่ในตำบลพระเสื้อเมือง
ต่อมาทางการได้ยุบเข้ารวมกับตำบลในเมือง อยู่ในเขตเทศบาลนคร จ.นครศรีธรรมราช ที่ตั้งเดิมของวัดสวนป่าน เป็นส่วนหนึ่งของบริเวณวังกษัตริย์ หรือเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช มีสภาพเป็นเนินสูงมาก่อน อันเป็นส่วนหนึ่งของภูมิประเทศ ซึ่งเดิมเรียกว่า "กระหม่อมโคก" มีลักษณะเป็นเนินสูงคล้ายภูเขาเล็กๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เมื่อประมาณ 900 กว่าปีมาแล้ว

กษัตริย์ผู้ตั้งเมืองใหม่ได้ปรับที่เนินนี้ให้ราบเรียบเพื่อตั้งเป็นวัง ส่วนที่ตั้งของวัดไม่ได้ปรับที่เนินให้ราบเรียบ ยังคงรักษาให้เป็นเนินอยู่ตามเดิม เพื่อใช้เป็นที่เลี้ยงช้างหลวง มีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ มีโรงเลี้ยงช้างอยู่ 3 โรง จึงไม่มีผู้ใดแม้แต่ลูกหลานหรือเชื้อสายของกษัตริย์ ประสงค์จะใช้เป็นที่อยู่อาศัย เพราะความเชื่อที่ว่า ที่นี่ช้างอยู่ ช้างเกิด ช้างตาย มาก่อน คนจะไปอยู่อาศัยไม่ได้ มักจะมีอันต้องเสียชีวิตหรือไม่ก็ทำให้เดือดร้อนต่างๆ
บริเวณเนินสวนป่านจึงถูกทอดทิ้งให้รกร้างว่างเปล่าอยู่เป็นเวลานาน ต่อมาท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนี (ม่วง เปรียญ) ในสมัยรัชกาลที่ 5 เห็นว่าที่ดินบริเวณโรงเลี้ยงช้างหลวงเป็นที่รกร้างอยู่ และอยู่ใกล้กับศาลากลางจังหวัดและศาลจังหวัด ดูไม่เป็นที่เจริญตา ประกอบกับทางราชการฝ่ายอาณาจักรก็มิได้คิดที่จะใช้ที่ดินบริเวณนั้นให้เป็นประโยชน์ ท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนีจึงจัดตั้งวัดขึ้นเป็นวัดของธรรมยุตนิกาย แล้วตั้งชื่อวัดที่ตั้งใหม่ว่า "วัดสวนป่าน" หลังจากที่เจ้าคุณพระรัตนธัชมุนี (ม่วง เปรียญ) ผู้ก่อตั้งวัดสวนป่านได้ถึงแก่มรณภาพไปเมื่อปี พ.ศ.2477 แล้ว ศิษยานุศิษย์ของท่านเจ้าคุณฯ ได้สร้างเจดีย์แบบลังกาย่อส่วนขึ้นไว้เป็นที่ระลึกถึงท่านเจ้าคุณด้วยความกตัญญูกตเวที ให้เป็นอนุสรณ์ของท่าน ซึ่งเจดีย์นี้ก็ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในวัดสวนป่านตลอดมาจนถึงทุกวันนี้


วัดสวนป่านเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้เพื่อสืบสานพระศาสนา และยังมีสถานที่สำคัญๆ ปรากฏเด่นเป็นสง่าอยู่ 2 อย่างคือ ศาลาการเปรียญ และอุโบสถ ศาลาการเปรียญ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ นอกจากภายนอกจะมีรูปทรงที่งดงามตามแบบศาสนสถานของไทยแล้ว ภายในยังมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่วัด ที่มีชื่อเรียกว่า "พระหมิด" เป็นพระพุทธรูปสำริดปางประทับยืน โดยรอบองค์พระพุทธรูปมีทองคำเปลวปิดทับซ้อนกันชั้นแล้วชั้นเล่า แสดงให้เห็นพลังศรัทธาของเหล่าชาวพุทธศาสนิกชน ที่มีต่อ "พระหมิด" พระพุทธรูปประจำวัดนี้ ส่วนอุโบสถ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ เป็นศาสนสถานที่วิจิตรงดงามมาก ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือชั้นบรมครูของเมืองนครศรีธรรมราช เพราะนอกจากจะมีภาพพุทธประวัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังมีภาพประวัติเรื่องราวแสดงถึงความเป็นอยู่ของชาวเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยนั้นรวมอยู่ด้วย โดยเฉพาะในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์เคยเสด็จประทับที่วัดนี้ด้วย เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 80 พรรษา พระครูพิศิษฎ์คณาทร (ท่านมนต์) เจ้าอาวาสวัดสวนป่าน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช จัดสร้างวัตถุมงคล "จตุคามรามเทพ รุ่นหัวใจเศรษฐี" (เทิดไท้องค์ราชันย์) พร้อมทั้งได้ประกอบพิธีบวงสรวงและเททองเป็นปฐมฤกษ์แล้ว ณ มณฑลพิธีหน้าวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.2549 โดยมี พระมงคลพุทธิญาณ


วัดรามประดิษฐ์ เป็นประธานในพิธีเททอง นายสมศักดิ์ ขำทวีพรหม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานฝ่ายฆราวาส พระสงฆ์ 10 รูป เจริญพระพุทธมนต์ พระเกจิคณาจารย์ดังสายใต้ จำนวน 9 รูป นั่งอธิษฐานจิตภาวนา ได้แก่ หลวงพ่อชม วัดโพธิ์เสด็จ, หลวงพ่อเชื่อง วัดรัตนาราม, หลวงพ่อบุญให้ วัดท่าม่วง, หลวงพ่อชม วัดปากน้ำละแม, หลวงปู่เอื้อม วัดบางเนียน, หลวงพ่อคล้อย วัดภูเขาทอง, หลวงพ่อท้วม วัดศรีสุวรรณ, พระอาจารย์แดง วัดไร่ และหลวงปู่ไข่ วัดลำนาว พร้อมทั้งได้กำหนดพิธีพุทธาภิเษก ณ ศาลหลักเมือง ในวันที่ 16 มี.ค.2550 และพิธีมหาเทวาภิเษก ณ วิหารหลวงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ในวันที่ 17 มี.ค. 2550 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเงินรายได้สร้างอาคารสอนศีลธรรมและจริยธรรมวัดสวนป่าน และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 80 พรรษา

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร


วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง มีเนื้อที่ 25 ไร่ 2 งาน วัดพระ มหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชั้น วรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประ กาศจดทะเบียน วัดพระมหาธาตุเป็น โบราณ สถาน นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ ตาม ตำนานกล่าวว่าสร้างมามากกว่า 1,500 ปี มี ศิลปะการก่อสร้างแบบศรีวิชัย ต่อมาปี พ.ศ. 1093 พระเจ้าศรี ธรรมาโศกราช ได้ทำการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ เป็นทรงสาญจิ และในปี พ.ศ.1770 พระเจ้าจันทรภาณุ กษัตริย์แห่งนครศรีธรรมราช จึงได้รับเอาพระภิกษุ จากลังกามาตั้งคณะสงฆ์

และบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ ให้เป็นไปตามแบบสถาปัตยกรรมลังกาอันเป็นแบบที่ ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน คือ เป็นทรงระฆังคว่ำ หรือโอคว่ำ มีปล้องไฉน 52 ปล้อง สูงจากฐานถึงยอด 37 วา ยอดสุดของปล้องไฉนหุ้มทองคำเหลืองอร่าม สูง 6 วา 1 ศอก แผ่เป็นแผ่นหนาเท่าใบลานหุ้มไว้ น้ำหนัก 800 ชั่ง (หรือ 960 กิโลกรัม) ภายในวัดพระมหาธาตุฯ มีโบราณวัตถุมากมายเก็บรักษาอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระวิหารหลวง ซึ่ง เป็นศิลปะสมัยอยุธยา วิหารพระมหาภิเนษกรม(พระทรงม้า) ทางขึ้นไปบนฐานองค์เจดีย์ วิหารทับเกษตรวิหาร เขียน และวิหารโพธิ์ลังกา ซึ่งเป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุที่มีมูลค่ามากที่สุดในประเทศ

ใน ปีงบประมาณ 2530 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการจัดทำโครงการพัฒนาสภาพกายภาพ วัด มหาธาตุวรวิหารขึ้น คือ ก่อสร้างรั้วพร้อมบ่อต้นไม้ด้านทิศเหนือ และ ทิศใต้ห้องสุขาขนาด 8 ที่ 1 หลัง และ แผ่นป้ายแสดงประวัติ และผังบริเวณวัด ขณะนี้วัดพระมหาธาตุฯ ได้รับการบูรณะใหม่ เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2532 เป็นต้นมา ขณะนี้คงเหลือแต่ ส่วนยอดพระบรมธาตุเจดีย์เท่านั้น